|
ทะแยมอญเป็นการเล่นเพลงพื้นบ้านของ
คนมอญที่มีมาแต่โบราณตั้งแต่เมื่อครั้งที่คนมอญยังมีประเทศมอญ เมื่อคนมอญอพยพหลบภัยสงครามจากการเข้ายึดครองแผ่นดินของพม่า มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในพระราชอาณาจักรไทย คนมอญได้นำเอาการเล่นทะแยมอญเข้ามา |
ในประเทศไทยด้วย และนับเป็นเวลากว่าสามร้อยปีมาแล้วที่ทะแยมอญได้มีโอกาส
แสดงในพระราชพิธีสำคัญๆ ของไทย |
ทะแยมอญ มาจากภาษามอญ ทะเย่ะห์ หมายถึง การขับร้อง โม่น หมายถึง มอญ ทะแยมอญ หรือ ทะเย่ะห์โม่น จึงหมายถึง การขับร้องของมอญ ชาวบ้านมอญมักเรียกทะแยมอญว่า แกว้กโม่น (แกว้ก หมายถึง เพลง โม่น หมายถึง มอญ) หมายถึง เพลงมอญ เป็นการขับลำนำหรือการขับร้องเพลงปฏิพากย์ของมอญที่มีดนตรีบรรเลง และมีการร่ายรำพร้อมกับการขับร้อง เป็นการเล่นหรือการแสดงที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบรรยากาศสันทนาการควบคู่กับการสร้างระบบคุณธรรมและจริยธรรม |