ประกาศิต ประกอบผล, และ จิระศักดิ์ สังเมฆ. (2562).สงกรานต์ : ปริศนาธรรมแห่งตำนาน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 9(1), 164-178
เนื้อหาของบทความนำเสนอตำนานสงกรานต์ที่มีคติปริศนาธรรมในพระพุทธศาสนาแฝงซ่อนไว้ ผ่านตัวละครในตำนานที่เล่าขานสืบกันมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล นั่นคือ เรื่อง “ธรรมาบาลกุมา” และ “ท้าวกบิลพรหม” และในตำนานนี้มีองค์ประกอบอื่นๆ ที่มีคติธรรมแฝงอยู่ด้วยเช่นกัน ได้แก่ ต้นตาล นกอินทรี ปัญหา เวลา ศีรษะ พาน เขาพระสุเมรุ การแห่ การเวียนประทักษิณ นางสงกรานต์ทั้ง 7 และความกตัญญูกตเวที
บทความได้นำเสนอตำนานสงกรานต์จนถึงประเพณีสงกรานต์ที่สืบต่อกันมาในปัจจุบันที่มีสิ่งที่ดีงามแฝงไว้หรือซ่อนอยู่ในสิ่งที่นำมาใช้ประกอบประเพณีสงกรานต์ เช่น
- การสรงน้ำพระและรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ที่แสดงถึงความเคารพ ให้เกียรติผู้สูงอายุ และอีกนัยเชื่อว่าเป็นการชำระมลทินทั้งทางกายและทางใจที่สะสมมาในรอบปีให้หลุดลอยไปจากชีวิต
- การก่อเจดีย์ทราย เป็นความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนากิจกรรมขนทรายเข้าวัดเพื่อทดแทนเศษดินหรือทรายที่ติดเท้าออกจากวัดและใช้ทรายนั้นก่อเป็นเจดีย์ทรายเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
ทั้งนี้ผู้เขียนบทความได้อธิบายเพื่อให้ได้เรียนรู้เรื่องราว คติธรรม และความหมายแฝงของสิ่งที่นำมาใช้ในประเพณีสงกรานต์อย่างชัดเจน
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3LRHs0j
เรียบเรียงโดย : ภัทรศยา สนองผัน, ฝ่ายบริการสื่อการศึกษา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
- Ask a Librarian: https://library.stou.ac.th/
- Line: https://lin.ee/7kovVTi
- Facebook: http://m.me/stoulibrary
- อีเมล: libservice@stou.ac.th, dilibrary@hotmail.com