สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายการ บรรณสารฯ ติดเล่า Podcast EP. 4 ซึ่ง EP นี้เป็น EP ที่ผู้ชมได้มีส่วนร่วมในการเลือกเรื่องที่จะนำมาเล่าในรายการ โดยโหวตผ่านFacebook ห้องสมุด มสธ. และเรื่องที่ได้รับการโหวตให้เล่าในรายการบรรณสารติดเล่า EP. 4 นี้คือเรื่อง วิถีสตรีอโยธยา แรงงานและจิตวิญญาณของสังคม
ในสมัยกรุงศรียุธยา มีการแบ่งสังคมในสมัยกรุงศรีอยุธยา ประกอบด้วยชนชั้นต่าง ๆ เช่น กษัตริย์ ขุนนาง พระสงฆ์ และไพร่-ทาส สำหรับชนชั้นไพร่นี้หมายถึง เหล่าประชาชนชายทั่วไปที่ไม่ได้เกิดในราชวงศ์ และไม่ได้มียศถาบันดาศักดิ์อะไร ไพร่เหล่านี้จะต้องถูกเกณฑ์ไปทำงานในรัฐปีละ 6 เดือน หรือที่เรียกว่า “เข้าเดือน ออกเดือน”
“ใครไม่อยากถูกเกณฑ์ก็ต้องจ่ายส่วยเป็นสิ่งของเงินทองให้กับทางการ”
ไพร่มีด้วยกัน 2 ประเภท คือ “ไพร่หลวง” เป็นไพร่ขึ้นกับกษัตริย์ และ “ไพร่สม” เป็นไพร่ที่ขึ้นกับขุนนางกรมกองต่าง ๆ ซึ่งหากใครไม่อยากถูกเกณฑ์ก็ต้องจ่ายส่วยเป็นสิ่งของเงินทองให้กับทางการ ซึ่งไพร่ประเภทนี้จะเรียกว่า “ไพร่ส่วย” ครับ
ไพร่ทุกประเภทที่กล่าวมาถือเป็นทรัพยากรแรงงานที่สำคัญ ยามสงบก็สังกัดกรมกองต่าง ๆ ใช้แรงงานให้กับกรมกองต่าง ๆ แต่เมื่อมีศึกสงครามก็จะถูกเกณฑ์ไปรบเป็นกำลังทหาร อย่างที่เราเคยได้ยินกันคำว่า “ไพร่พล” ไพร่จึงถือเป็นกำลังและแรงงานสำคัญของสังคมอยุธยาในยุคนั้น
“เมื่อชายฉกรรณ์ถูกเกณฐ์เป็นแรงงาน
สตรีจึงกลายเป็นเสาหลักของบ้าน”
แต่เมื่อเหล่าชายฉกรรณ์ผู้เป็นช้างเท้าหน้า ถูกเกณฐ์เป็นแรงงานในเมืองเป็นเวลานาน สตรีผู้เป็นช้างเท้าหลัง ที่ไม่ได้ถูกเกณฐ์ไปใช้แรงงาน จึงกลายเป็นแรงงานและเสาหลักของบ้าน กิจการทั้งหลายทั้งปวงในครัวเรือนตกเป็นของสตรีทั้งสิ้น ในภาคการเกษตรก็เป็นผู้หญิงที่ต้องทำไร่ ไถนา ปลูกข้าว ทำการเกษตร รวมถึงการค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ
ด้านสมาชิกครอบครัว เช่น เด็ก หรือคนแก่ ก็เป็นหน้าที่ของผู้หญิงที่ต้องดูแลสมาชิกในครอบครัว ต้องอบรมเลี้ยงดูบุตร ต้องปรนนิบัตรดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว รวมถึงการหุงหาอาหารไปส่งให้สามีที่ถูกเกณฑ์ไปใช้แรงงานด้วย
นอกจากจะทำงานบ้าน ทำการเกษตร ดูแลคนในบ้านแล้ว ผู้หญิงอยุธยาที่อยู่กับเด็กและคนชรา ยังต้องเป็นฝ่ายที่คอยป้องกันภัยอันตรายจากโจรผู้ร้าย และอัธพาลที่เข้ามาคุกคามคนในครอบครัวอีกด้วย เรียกได้ว่า “มือก็ไกว ดาบก็แกว่ง” ผู้หญิงที่เป็นชนชั้นไพร่ จึงต้องแข็งแกร่งทั้งทางกายและทางใจ
ปัจจุบันนี้ระบบไพร่ทาสไม่มีอยู่แล้ว บ้านเมืองพัฒนาได้ด้วยแรงงาน และความรู้ความสามารถของประชาชนทั้งผู้ชายและผู้หญิง ผู้ชายและผู้หญิงมีสิทธิที่จะออกมาทำงานนอกบ้านอย่างเท่าเทียมกัน แต่ความเชื่อเรื่องผู้หญิง ต้องเป็นผู้รับภาระในการดูแลงานบ้านยังคงมีอยู่ในชุดความคิดของคนในหลาย ๆ กลุ่ม แล้วในปัจจุบันที่ผู้หญิงและผู้ชายออกมาทำงานนอกบ้านเหมือนกัน ผู้ฟังคิดว่างานบ้านควรเป็นหน้าที่ของใครกัน
เรื่องราวของสตรีอยุธยาสะท้อนให้เห็นว่าแม้แรงงานหลักที่ขับเคลื่อนบ้านเมืองในสมัยกรุงศรีอยุธยาจะเป็นกำลังที่มาจากแรงงานของชายฉกรรจ์ แต่ผู้หญิงเองก็เป็นแรงงานสำคัญในการขับเคลื่อนบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า ด้วยการเป็นภรรยาที่ไม่เพียงแต่ใช้แรงกายค้ำจุลสถานภาพของครอบครัว ยังเป็นกำลังแรงใจให้กับสามีซึ่งเป็นกำลังสำคัญของบ้านเมือง เป็นมารดาที่คอยอบรมสั่งสอนและอภิบาลบุตรให้เติบโตเป็นกำลังสำคัญของบ้านเมือง และเป็นลูก ลูกสะใภ้ ที่คอยดูแลบิดามารดา วิถีสตรีแห่งกรุงศรีอยุธยาจึงเป็นทั้งแรงงาน และจิตวิญญาณของสังคมในสมัยนั้น
หนังสืออ้างอิง
- อยุธยาจากสังคมเมืองท่านานาชาติสู่มรดกโลก / ผู้เขียน, กำพล จำปาพันธ์. Call number: DS589 ก64 2559
บทความออนไลน์อ่านฟรี
เรียบเรียง: โยธิน ครุธพันธ์ (บรรณารักษ์)