รัฐธรรมนูญไทยกับความหลากหลายทางเพศ

อารยา  สุขสม. (2561).รัฐธรรมนูญไทยกับความหลากหลายทางเพศ.วารสารนิติสังคมศาสตร์. 11(2), 87-120

บทความนี้ได้นำเสนอการศึกษาเหตุผลความจำเป็น และการปรับใช้หลักการห้ามเลือกปฏิบัติเพื่อคุ้มครองกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในองค์การสหประชาชาติ รวมถึงแนวทางปฏิบัติของต่างประเทศและประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางการตีความรัฐธรรมนูญเพื่อคุ้มครองกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยนำเสนอประเด็น ดังต่อไปนี้

  1. เหตุผลและความจําเป็นของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
    – แนวคิดเรื่องเพศและความหลากหลายทางเพศเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
    – เพศและความหลากหลายทางเพศเป็นสิ่งที่กําหนดและให้ความหมายจากสังคม
  2. การปรับใช้หลักการห้ามเลือกปฏิบัติเพื่อคุ้มครองกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
    – การปรับใช้หลักการห้ามเลือกปฏิบัติในตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนายชน
    – การห้ามเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
    – การปรับใช้หลักการห้ามเลือกปฏิบัติในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
  3. พัฒนาการและแนวทางการตีความรัฐธรรมนูญเพื่อคุ้มครองความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย
    – พัฒนาการเรื่องการคุ้มครองความหลากหลายทางเพศ(ช่วงที่ 1-3)
    – แนวทางการตีความรัฐธรรมนูญเพื่อคุ้มครองกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ :ฉบับออนไลน์ : https://bit.ly/3xHUzwQ
ฉบับพิมพ์ : https://bit.ly/3zxvTbC

เรียบเรียงโดย: ภัทรศยา  สนองผัน, ฝ่ายบริการสื่อการศึกษา

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม