ศูนย์เทคโนโลยีบรรณสารสนเทศ เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพิ่มเติมตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เพื่อให้รองรับภารกิจงานบริการห้องสมุดของมหาวิทยาลัยในระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 30 ปี
ศูนย์เทคโนโลยีบรรณสารสนเทศ แบ่งการบริหารงานออกเป็น 3 งาน คือ งานวางแผนและพัฒนา งานปฏิบัติการ และงานบริการ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบตั้งแต่งานวางแผน พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูลห้องสมุด งานจัดหา จัดทำทะเบียนครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ห้องสมุด งานสร้างและพัฒนาฐานข้อมูลตามความต้องการ งานจัดโครงการฝึกอบรมผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในห้องสมุด ตลอดจนงานประสานการให้บริการฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นและฐานข้อมูลที่บอกรับหรือพัฒนาร่วมกับหน่วยงานอื่น งานบำรุงรักษาและแก้ไขปัญหา ระบบคอมพิวเตอร์เบื้องต้น และงานดูแลพัฒนา เว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การให้บริการของห้องสมุด
ปัจจุบันศูนย์เทคโนโลยีบรรณสารสนเทศได้มีการพัฒนานวัตกรรมและนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่างๆ มาใช้พัฒนาการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการเป็นแหล่งเรียนรู้สารสนเทศดิจิทัลและบริการห้องสมุด อาทิ การนำ เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง AR (Augmented Reality) และ VR (Virtual Reality) มาใช้ในโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพื่อชุมชนพหุปัญญา ซึ่งเป็นโครงการที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวมอญในชุมชนต่างๆ ที่อยู่ในประเทศไทยทั้งในกรอบของจารีต ขนบธรรมเนียม ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม นับว่าเป็นการเพิ่มพูนคุณภาพและประสิทธิภาพในการให้บริการเป็นอย่างมาก
ข้อมูลเพิ่มเติมและบริการที่น่าสนใจ
หนังสือ “20 ปี บรรณสาร พัฒนาการที่ภาคภูมิ” bit.ly/3LhZXe7
เว็บไซต์ห้องสมุด มสธ. https://library.stou.ac.th
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ นนทบุรีศึกษา bit.ly/3GMkQfz
ศูนย์การเรียนรู้เพื่อชุมชนพหุปัญญา สารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นนนทบุรีศึกษาbit.ly/3hEKtHD
ร้อยเรื่องเล่า…100 ความทรงจำ
เป็นการเล่าเรื่องจากภาพถ่ายในรูปแบบโปสการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ (Postcard) จำนวน 100 ใบ ร้อยเรียงเรื่องราวตามไทม์ไลน์ ตั้งแต่อดีตปี พ.ศ. 2521 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลผลิตจาก “โครงการพัฒนาและเผยแพร่สารสนเทศ: ร้อยเรื่องเล่า…100 ความทรงจำ…สำนักบรรณสารสนเทศ” เพื่อบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งด้านประวัติ พัฒนาการ โครงการ/กิจกรรม และความทรงจำเกี่ยวกับห้องสมุด รวมถึงเป็นการอำลาอาคารบรรณสาร (เดิม) ก่อนย้ายเข้าสู่ที่ทำการแห่งใหม่ ณ “อาคารห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้ มสธ.”
ติดตาม โครงการ “ร้อยเรื่องเล่า…100 ความทรงจำ…สำนักบรรณสารสนเทศ” ได้ที่
- Facebook ห้องสมุด มสธ.: POSTCARD ร้อยเรื่องเล่า…100 ความทรงจำ…สำนักบรรณสารสนเทศ
- YouTube: รายการ “ร้อยเรื่องเล่า..จากชาวบรรณสารฯ”
เรียบเรียงโดย
ดวงรัตน์ ดีขั้ว บรรณารักษ์ สำนักบรรณสารสนเทศ