การสื่อสาร เป็นการส่งสารหรือข้อมูลที่ต้องการจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน หากเกิดความเข้าใจไม่ตรงกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังได้
สำหรับการสื่อสารขององค์กรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรมีการกำหนดนโยบายเพื่อสร้างความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน เช่น การสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นที่หน้าเว็บไซต์, Blog, ชุมชนออนไลน์, youtube, tiktok รวมถึง Application บน Smart phone ควรมีการกำหนดภารกิจและหาบุคคลที่เชี่ยวชาญเพื่อช่วยเสริมงานให้กับฝ่ายประชาสัมพันธ์ นอกเหนือจากเป็นการประชาสัมพันธ์แล้วยังเป็นช่องทางสำหรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายด้วย
การสื่อสารในภาวะวิกฤต เช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหว น้ำท่วม โรคระบาด การก่อการร้าย การรั่วไหลของสารเคมี เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน สร้างความสับสนวุ่นวายเป็นอย่างมาก การสื่อสารในสถานการณ์นี้เป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังมีภาวะวิกฤตจากข่าวลือหรือการให้ร้ายจากผู้ไม่หวังดี ฯลฯ องค์กรต่างๆ ควรมีการจัดการวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นตามวงจรชีวิตของภาวะวิกฤต
ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับองค์กรต่างๆ ซึ่งเราสามารถศึกษาได้ว่าแต่ละองค์กรมีการสื่อสารเพื่อจัดการกับภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นได้อย่างไร
หากสนใจหนังสือเล่มนี้สามารถอ่านออนไลน์ได้ที่ https://bit.ly/3M4flNP