...ความสำคัญของการวิจัย...

สำนักบรรณสารสนเทศได้จัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาการสร้างต้นแบบแหล่งสารสนเทศดิจิทัลในรูป ห้องสมุดดิจิทัลที่ปฏิบัติงานได้ (working prototype) ในปีงบประมาณ 2548 โดยรวบรวมและคัดเลือก สารสนเทศที่หลากหลาย น่าสนใจ และมีคุณค่า ทั้งสารสนเทศที่เป็นอักขระ ภาพ เสียง และสื่อประสม และทำให้เป็นมาตรฐานสากลที่เอื้อต่อการทำงานต่างระบบ (interoperability) โดยมีแนวทางในการ ดำเนินงานในการสร้างต้นแบบแหล่งสารสนเทศดิจิทัล ดังนี้

  1. ศึกษา พัฒนาการจัดเก็บสารสนเทศดิจิทัลทั้งที่อยู่ในรูปอักขระ ภาพ เสียง และกราฟิก ซึ่งผลิตและ จัดเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูลต่างๆที่อาจใช้มาตรฐานแตกต่างกันในการจัดเก็บสารสนเทศแต่ละประเภท
  2. แปลงวัตถุสารสนเทศในรูปแบบดั้งเดิมให้เป็นวัตถุสารสนเทศในรูปดิจิทัล ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ของวัตถุสารสนเทศแต่ละประเภท และให้สอดคล้องกับแนวคิด การพัฒนามาตรฐานเมตะดาตา เพื่อจัดเก็บค้นหา และนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในลักษณะสารสนเทศพร้อมสรรพ (information rich)
  3. สร้างต้นแบบการจัดการแหล่งสารสนเทศดิจิทัลที่ใช้มาตรฐานสากล เพื่อเพิ่มความสามารถ ในการจัดการและเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิผล โดยสามารถรักษารูปลักษณ์ของ วัตถุุสารสนเทศในรูปแบบดั้งเดิมไว้ได้


...ประัโยชน์ที่ได้รับ...

  1. ได้ต้นแบบแหล่งสารสนเทศดิจิทัลห้องสมุดสู่ชุมชนตามแนวคิดการพัฒนาโดยการจัดการมวลทรัพยากร สารสนเทศด้วยมาตรฐานเมตะดาตา เพื่อจัดเก็บ ค้นหา และนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพในลักษณะ สารสนเทศพร้อมสรรพและหลากหลาย
  2. เป็นแนวทางการพัฒนาแหล่งสารสนเทศในห้องสมุดที่เหมาะสมกับท้องถิ่น เพื่อให้ห้องสมุดชุมชนมี ชีวิตชีวาและเป็นแหล่งสารสนเทศในท้องถิ่นอย่างแท้จริง
  3. นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงสารสนเทศดิจิทัล ที่สำนักบรรณสารสนเทศ พัฒนาขึ้นได้อย่างสะดวก รวดเร็วตลอดเวลา โดยไม่จำกัดระยะทางและเวลาในการใช้บริการ