แต่เดิมการเดินทางไปมาระหว่างอำเภอบางบัวทองกับจังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร ใช้เพียงทางแม่น้ำและลำคลอง โดยใช้เรือเป็นพาหนะ ส่วนการเดินทางระหว่างตำบล อำเภอใกล้เคียง ก็ใช้การเดินทางทางบกด้วยเกวียนหรือเลื่อน
เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์
เมื่อครั้งที่มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าหมื่นเสมอใจราช
เป็นภาพที่พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชทรงถ่าย
ต่อมา พ.ศ. 2444 เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัว ไปเปิดทางรถไฟที่ผาเสด็จ ดงพญาเย็น จังหวัดสระบุรี และเกิดติดใจรถไฟที่ใช้ขนไม้ป่าไปปลูกในพระราชอุทยาน ประจวบกลับเวลาไปเยี่ยมญาติข้างย่าที่ข้างวัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี รู้สึกรำคาญที่หนทางไปมาลำบากชักช้า จึงคิดเชื่อมกรุงเทพมหานครกับจังหวัดนนทบุรี เพื่อที่จะได้ไปมาสะดวก ท่านจึงได้คิดที่จะเชื่อมทั้งสองฝั่งเข้าด้วยกันด้วยการสร้างเส้นทางรถไฟ และหากเป็นไปตามแผนที่วางไว้การเดินทางของผู้คน และการขนส่งสินค้าก็จะใช้เวลาน้อยกว่าการเดินทางโดยเรือ |