banner
frame-left

                 เครื่องหอมสำหรับดูแลเครื่องนุ่งห่มและผิวพรรณของชาววังสมัยโบราณ 

                                                                                                                ศิริน     โรจนสโรช

                  เสื้อผ้าชาววังส่วนมากมักจะมีคุณภาพเนื้อผ้าดี สีสันสวยงามและหอมกรุ่นจนเป็นที่กล่าวขวัญ 
 ว่าชาววังนั่งที่ไหนหอมติดกระดานที่นั่น ผ้าชาววังมีกรรมวิธีที่ผลิตอย่างพิถีพิถัน มีการสอดเส้นโลหะเงินทอง
ผสมลงไป เช่น ผ้าเยียรบับที่มีลวดลายเป็นดิ้นมากกว่าเนื้อผ้า ผ้าเข้มขาบซึ่งเป็นผ้ายกดิ้นทอเป็นลายทาง
ผ้าเหล่านี้ส่วนใหญ่ผลิตจากอินเดีย บางครั้งก็ปักด้วยอัญมณีมีค่า ส่วนผ้าที่ใช้ห่มหรือผ้าสไบ  เป็นผ้าเนื้อบาง
เบา ทำด้วยแพรไหม เช่น ผ้าวิลาศ ผ้าสาลู  ผ้าต่างๆ เหล่านี้ในสมัยโบราณ   บางครั้ง ก็จะนำมาย้อมสี โดยใช้
วัสดุธรรมชาติ  เช่น  ก้านดอกกรรณิการ์   ทำให้เกิดสีแดงและสีส้ม   ใบแคให้สีเขียวอ่อน   ขมิ้นชันให้สี
เหลือง  ใบยอให้สีเขียว  ลูกพุดใช้ย้อมสีจำปา   เป็นต้น   โดยนำผ้ามาชุบน้ำหมาดๆ ลงเครื่องหอมเพื่ออบร่ำ
ให้มีกลิ่นหอม   เครื่องหอมที่นิยมมี  3  ชนิด คือ ลูกซัด ชะลูดหั่นฝอยตากแห้ง ใบเตยหั่นฝอยตากแห้ง ต้ม
แล้วรินเอาแต่น้ำไว้  ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น เติม น้ำดอกไม้เทศและน้ำมันชะมดเช็ด  และเอาผ้าที่ย้อมจุ่มลงในเครื่อง
หอมนี้ แช่ค้างคืนก็จะหอมนาน บีบน้ำออกให้หมด  คลี่ผึ่งแดดให้แห้ง                           
                   ในการซักผ้าของชาววังก็ใช้วิธีนำต้นชะลูดที่หั่นเป็นฝอยตากจนแห้งแล้วมาต้มในน้ำเดือดกับ
ลูกชัด  ใส่แล้วใส่ผ้าลงไปในน้ำและเขี่ยกลับไปกลับมา   เพื่อให้ได้ผ้าที่หอมและสะอาด  แล้วจึงตากให้แห้ง                                                                                                                                
                pic-1
                                                   
                                                  next                                                        

frame-right