พระมหากษัตริย์นักประชาธิปไตย

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ นับตั้งแต่ที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อปี พ.ศ. 2468 พระองค์ทรงวางแนวทางที่จะนำประเทศไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างมีแบบแผน ด้วยการสร้างระบบจากฐานรากที่แข็งแกร่ง ริเริ่มตั้งแต่แนวพระราชดำริการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล เพื่อให้ราษฎรมีส่วนร่วมในกิจการบ้านเมืองระดับท้องถิ่น และแนวพระราชดำริการเมืองการปกครองส่วนกลางแบบรัฐสภา ด้วยการสถาปนาอภิรัฐมนตรีสภา ประกอบด้วยพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ เพื่อถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดินและราชการส่วนพระองค์ การปรับปรุงสภาองคมนตรี ด้วยการแต่งตั้งองคมนตรี 40 คน เพื่อให้มีอำนาจยับยั้งการใช้อำนาจในทางที่ผิดของพระเจ้าแผ่นดิน และเพื่อฝึกหัดการประชุมแบบรัฐสภา

Next

ทรงเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ

ทรงพระราชดำริให้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเพื่อพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย จำนวน 2 ฉบับ คือ
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 Outline of Preliminary Draft ของพระยากัลยาณไมตรี หรือฟรานซิส บี. แซร์ ซึ่งมี 12 มาตรา
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 An Outline of Changes In The Form of Goverment ของพระยาศรีวิสารวาจา กับนายเรย์มอนด์ บี.สตีเวนส์

ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะพระราชทานในพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี เมื่อปี พ.ศ.2475 แต่มิได้เกิดขึ้น เนื่องจากถูกคัดค้านจากทั้งผู้ร่างรัฐธรรมนูญและคณะอภิรัฐมนตรี โดยเห็นว่าประชาชนยังไม่พร้อมด้านการศึกษา และไม่มีประสบการณ์ในการปกครองแบบประชาธิปไตยมากเพียงพอในขณะนั้น ต่อมาคณะราษฎรทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

Next

มูลเหตุแห่งการสละราชสมบัติ

กล่องข้อความความไม่พอพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อรัฐบาล เกิดขึ้นมานับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง มีหลายกรณีที่ทรงเห็นว่าไม่ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย และจำกัดสิทธิเสรีภาพ ได้แก่ 1) การแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 โดยรัฐบาลแต่งตั้งพวกพ้องเข้าเป็นสมาชิก 2) พระราชบัญญัติจัดการป้องกันรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2476 หากผู้ใดขัดขืนรัฐบาลจะกลายเป็นปรปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญและได้รับโทษ ทรงขอให้ยกเลิก เพราะขัดกับหลักเสรีภาพและไม่มีการไต่สวนโดยกระบวนการศาลอย่างเปิดเผย 3) กรณีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลพิเศษ พ.ศ.2476 โดยใช้ศาลพิเศษพิจารณาคดีความผิดทางการเมืองแทนศาลยุติธรรม 4) กรณีภาษีมรดก ทรงขอให้มีบทยกเว้นพระราชทรัพย์ของพระมหากษัตริย์เฉพาะส่วนที่ได้รับต่อกันมาทางสืบสันตติวงศ์ 5) รัฐบาลตัดกำลังและงบประมาณทหารรักษาวัง และ 6) กรณีสิทธิเสรีภาพของสื่อ ทรงขอให้รัฐบาลให้เสรีภาพในการพูด การเขียน การโฆษณา เหตุมากจากการที่หนังสือพิมพ์ถูกปิด

หลังจากการเสด็จประพาสประเทศต่างๆ ในยุโรป และทรงรับการผ่าตัดต้อกระจกเสร็จสิ้นแล้ว ทรงมีพระราชบันทึกข้อข้องพระทัยส่งให้แก่รัฐบาลพิจารณาเกี่ยวกับเงื่อนไขต่าง ๆ หากประสงค์จะให้ทรงครองราชสมบัติ รัฐบาลเห็นว่ากราบบังคมทูลโดยหนังสือ จะทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2477 ได้แต่งตั้งคณะผู้แทน โดยมีเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นหัวหน้าคณะ เข้าเฝ้าฯ ที่อังกฤษ แต่การเจรจาไม่เป็นผล รัฐบาลปฏิเสธข้อทรงแนะนำและคำขอร้องในบางประการ โดยยืนยันที่จะรักษาความศักดิสิทธิ์แห่งรัฐธรรมนูญถาวรไว้

Next

พระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ

เมื่อทรงพิจารณาแล้วว่าไม่สามารถประสานกับรัฐบาลเพื่อบรรลุประโยชน์แก่ปวงชนได้ รวมถึงเหตุความขัดแย้งที่สะสมมาก่อนหน้านั้น จึงได้มีพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (พ.ศ. 2478 ตามปฏิทินปัจจุบัน) เวลา 13.45 น. ณ พระตำหนักโนล ประเทศอังกฤษ พระองค์ทรงสละราชสมบัติ โดยมิได้ทรงระบุพระนามเจ้านายพระองค์ใดเป็นผู้ที่สมควรสืบพระราชสันตติวงศ์ เพื่อพระราชทานวโรกาสให้รัฐบาลและส ภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้คัดเลือกพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่

าระความสำคัญคำประกาศสละราชสมบัติ ทรงเขียนถึงปัญหาและข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงประสบจากการดำเนินงานของรัฐบาล ทั้งการปกครองที่ขัดต่อหลักการเสรีภาพและหลักความยุติธรรม โดยประเด็นหลักๆ การออกพระราชบัญญัติการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ การตั้งศาลพิเศษเพื่อตัดสินคดีการเมือง รัฐบาลแต่งตั้งพรรคพวกเป็นสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2

“...ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้อง ใช้วิธีการปกครองซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล และหลักความยุติธรรมตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใดคณะใดใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้...”

และคำประกาศสละราชสมบัติ

“…ข้าพเจ้าเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร บัดนี้ข้าพเจ้าเห็นว่า ความประสงค์ของข้าพเจ้าที่จะให้ราษฎรมีสิทธิ์ออกเสียงในนโยบายของประเทศโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จและเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่าบัดนี้เป็นอันหมดหนทางที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือหรือให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติและออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอสละสิทธิของข้าพเจ้าทั้งปวง ซึ่งเป็นของข้าพเจ้าในฐานที่เป็นพระมหากษัตริย์ แต่ข้าพเจ้าสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งปวงอันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิมมาก่อนที่ข้าพเจ้าได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์…”
Next

เสด็จประพาสยุโรป สู่การสละราชสมบัติ

ภายหลังจากเหตุการณ์ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง กลับเกิดความวุ่นวายภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง การเกิดเหตุการณ์กบฎบวรเดช เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2476 เป็นสาเหตุสำคัญอีกหนึ่งประการที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระทัยเสด็จประพาสยุโรป เพื่อทรงหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่พระมหากษัตริย์จะทรงถูกใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองและเพื่อแสดงความเป็นกลาง อีกส่วนหนึ่ง เพื่อทรงรับการรักษาพระเนตรที่ประชวรเป็นต้อกระจก และเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรป 9 ประเทศ โดยเสด็จออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2476 และแต่งตั้งให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทน เป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศในพระราชสถานะพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก ก่อนที่จะเสร็จพระราชดำเนินเพียงหนึ่งวัน ทรงมีกระแสพระราชดำรัสแก่ประชาชนถึงสาเหตุแห่งการเสด็จต่างประเทศและทรงขอร้องให้ประชาชนตั้งอยู่ในความสงบ ความตอนหนึ่งว่า

“ประชาชนพลเมืองทั้งหลาย...ในวันที่ 12 เดือนนี้ ข้าพเจ้าพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี จะได้เดินทางออกไปต่างประเทศ ทั้งนี้เป็นความจำเป็นเพื่อการรักษาร่างกายของข้าพเจ้า และข้าพเจ้าจะได้ถือโอกาสเจริญทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศให้สนิทสนมยิ่งขึ้นด้วย...ข้าพเจ้าขอให้ประชาชนพลเมืองทั้งหลาย จงได้รักษาความสงบและความสามัคคีไว้ให้มั่นคง...”

Next

พระชนมชีพหลังสละราชสมบัติ

หลังจากสละราชสมบัติแล้ว พระองค์ทรงกลับไปใช้พระนามและพระราชอิสริยยศเดิม “สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา” และทรงประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษต่อ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิด ทรงดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายแบบสามัญชน จนเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยวาย เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2484 ณ พระตำหนักคอมพ์ตันเฮาส์ รวมพระชนมายุ 48 พรรษา

Four