กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้าเป็นอาหารเสริมที่มีคุณค่าทางอาหาร ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ และคนชรา นอกจากนั้นแล้ว ยังจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่ให้ประโยชน์มากมาย เช่น ปลูกขายเครือ หน่อ และใบ กล้วยน้ำว้าเป็นพืชที่ปลูกง่าย ทนแล้ง บำรุงรักษาง่ายโรคแมลงไม่รบกวนมากเหมือนพืชชนิดอื่น

กล้วยน้ำว้า เป็นพืชล้มลุก กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวอ่อน ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ เส้นกลางใบมีสีเขียวอมชมพู ก้านช่อดอกไม่มีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างป้อม ม้วนงอขึ้นปลายมน ด้านบนสีแดงอมม่วงมีนวล ด้านล่างสีแดงเข้ม เครือห้อย เครือหนึ่งมี 7-10 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล กล้วยน้ำว้าปลูกทั่วไป รับประทานกันแทบจะทุกภาคของประเทศไทย

กล้วยน้ำว้า..สารพัดประโยชน์

กล้วยน้ำว้าใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน อาทิ ผลกล้วยดิบ ใช้ปรุงเป็นอาหาร โดยนำมาแกงเผ็ดเนื้อ ทำเป็นยาสมุนไพรแก้โรคกระเพาะได้ดี ผลกล้วยสุก ทำของหวาน เช่น กล้วยฉาบ หรือ กล้วยบวชชี กล้วยตาก กล้วยปิ้ง กล้วยทับ ข้ามต้มมัด ขนมกล้วย ผลสุกรับประทานเปล่าๆ รสชาดหวานหอมอร่อย ย่อยง่าย เป็นยาสมุนไพรแก้ท้องผูก เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ

กล้วยน้ำว้าใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน อาทิ ผลกล้วยดิบ ใช้ปรุงเป็นอาหาร โดยนำมาแกงเผ็ดเนื้อ ทำเป็นยาสมุนไพรแก้โรคกระเพาะได้ดี ผลกล้วยสุก ทำของหวาน เช่น กล้วยฉาบ หรือ กล้วยบวชชี กล้วยตาก กล้วยปิ้ง กล้วยทับ ข้ามต้มมัด ขนมกล้วย ผลสุกรับประทานเปล่าๆ รสชาดหวานหอมอร่อย ย่อยง่าย เป็นยาสมุนไพรแก้ท้องผูก เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ไส้ในของกล้วยที่อ่อนๆ นำมาทำแกงส้ม ช่อดอก เรียกว่า “ปลีกล้วย” เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำมาปรุงอาหาร เช่น แกงปลีกล้วย ทอดมันหัวปลี ลำต้น เรียกว่า “หยวกกล้วย” นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หรือโขลกให้ละเอียดผสมกับรำใช้เป็นอาหารเลี้ยงหมู เป็ด ไก่ ใบกล้วย เรียกว่า “ใบตอง” ใช้ห่อของ มวนยาสูบ ลำต้นและใบกล้วยใชเป็นวัสดุทำงานหัตถศึกษา เช่น กระทง บายศรี กาบกล้วย ตากให้แห้งทำเป็นเชือกผูกของ รากและเหง้า ตามตำราสมุนไพรไทย จีน และอินเดีย ใช้รักษาโรคเบาหวาน เปลือกกล้วย ที่เป็นเศษเหลือจากการแปรรูปผลกล้วย นำมาทำให้แห้งแล้วป่นเป็นผงสามารถนำมาทำเป็นอาหารสัตว์

กล้วยน้ำว้ากับวัฒนธรรมไทย

กล้วยน้ำว้านอกจากใช้รับประทานแล้ว ยังใช้ประกอบประเพณีต่างๆ ตามความเชื่อถือที่มีสืบทอดกันมา

พิธียกเสาเอก เวลาปลูกบ้าน จะต้องทำพิธีเสาเอก โดยประดับประดาเสาเอกให้สวยงาม ปลายเสาเอกปิดทอง ติดผ้าขาวผ้าแดง และต้องมีกล้วยน้ำ 1 หวี และต้นอ้อยผูกติดที่ปลายเสา หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ในการทำมาหากิน และความอยู่เย็นเป็นสุขของคนในครอบครัว

พิธีทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ต้องมีกล้วยน้ำว้า อ้อย มะพร้าวอ่อน

พิธีเผาศพ เวลาเผาศพใช้ต้นกล้วย กาบกล้วย มาฉลุเป็นลวดลายสวยงามทำเป็นเมรุ เรียกว่า “แทงหยวก”

ของเล่นเด็ก ก้านกล้วยใช้ทำเป็นของเล่นเด็กมาแต่โบราณ เรียกว่า “ม้าก้านกล้วย” กีฬามวยไทย สมัยก่อนใช้ต้นกล้วยแทนกระสอบทรายในการฝึกซ้อม

พิธียกเสาเอก เวลาปลูกบ้าน จะต้องทำพิธีเสาเอก โดยประดับประดาเสาเอกให้สวยงาม ปลายเสาเอกปิดทอง ติดผ้าขาวผ้าแดง และต้องมีกล้วยน้ำ 1 หวี และต้นอ้อยผูกติดที่ปลายเสา หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ในการทำมาหากิน และความอยู่เย็นเป็นสุขของคนในครอบครัว

พิธีทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ต้องมีกล้วยน้ำว้า อ้อย มะพร้าวอ่อน

พิธีเผาศพ เวลาเผาศพใช้ต้นกล้วย กาบกล้วย มาฉลุเป็นลวดลายสวยงามทำเป็นเมรุ เรียกว่า “แทงหยวก”

ของเล่นเด็ก ก้านกล้วยใช้ทำเป็นของเล่นเด็กมาแต่โบราณ เรียกว่า “ม้าก้านกล้วย” กีฬามวยไทย สมัยก่อนใช้ต้นกล้วยแทนกระสอบทรายในการฝึกซ้อม

อ้างอิง

ทองคำ พันนัทธี. (พฤศจิกายน 2537). ปลูกกล้วยน้ำว้า เพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิต วัฒนธรรมไทย, 32(2), 39-42. สุญาณี แสนเศษ. (2555).
การศึกษาคุณค่าทางอาหารและการย่อยได้ ของเปลือกกล้วยน้ำว้า. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์) เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย แม่โจ้.