เส้นอักษรคัมภีร์ใบลานส่วนมากเป็นเส้นจารที่ใช้เหล็กแหลมขนาดเล็กจารลงบนใบลานให้เป็นตัวอักษร เส้นที่เขียนด้วยหมึกและเส้นทองมีอยู่บ้าง แต่เป็นส่วนน้อย

คัมภีร์ใบลาน ถือเป็นของสูงควรแก่การเคารพ เพราะส่วนใหญ่เป็นเรื่องของพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้แต่การเก็บรักษาก็ต้องมีการห่อด้วยผ้าห่อคัมภีร์ และเก็บไว้ในสถานที่เหมาะสมที่เรียกว่า หอไตร หรือ ตุ้คัมภีร์ การเคลื่อนย้ายต้องทำด้วยความเคารพ

คัมภีร์ใบลานส่วนหนึ่งมีการเขียนภาพที่สวยงาม ทั้งที่เป็นภาพลงรักปิดทอง เขียนด้วยสีต่างๆ

ตัวอักษรมอญ

ชนชาติมอญเป็นกลุ่มชนหนึ่งของเอเชียที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่ มีความเจริญมาก่อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับความเจริญมาจากอินเดียและลังกา ความเจริญของชนชาติมอญได้แพร่ขยายสู่ชนชาติใกล้เคียงในเวลาต่อมาราวพุทธศตวรรษต้น ๆ อาณาเขตของมอญกว้างใหญ่ไพศาล ได้แก่ ดินแดนที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยและประเทศพม่าในปัจจุบัน

ตัวอักษรมอญรุ่นแรกสุด ปรากฏในราชอาณาจักรรามัญช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๐ ที่มีอิทธิพลของตัวอักษรอินเดียใต้ และได้พัฒนาต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน ตัวอักษรมอญนอกจากจะใช้บันทึกภาษามอญแล้วยังใช้ถ่ายทอดภาษาอื่น ๆ ด้วย คือ ภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาพม่า และตัวอักษรมอญยังเป็นต้นกำเนิดตัวอักษรของอีกหลายกลุ่มชน เช่น อักษรจีนในมณฑลเกงตุงของพม่า อักษรไทลื้อในสิบสองปันนา อักษรธรรมล้านนาและอักษรธรรมที่ใช้ในภาคอีสานจนถึงประเทศลาว

การจารึกภาษามอญมีการใช้วัสดุหลายอย่าง เช่น ศิลา แผ่นดินเผา แผ่นทอง แผ่นเงิน แผ่นทองแดง แผ่นงาช้าง แผ่นรักสมุก แผ่นผ้า สมุดข่อย ใบลาน ใบตาล ใบเตย ใบลำเจียก วิธีการจารตัวอักษรลงในใบลาน ใบตาล ใบเตยหรือใบลาเจียกของมอญ มีขั้นตอนคล้ายคลึงกับของ ไทย ใบที่จารแล้วนามาเจาะรูให้ตรงกันใบละ ๒ รู แล้วร้อยแต่ละใบเข้าด้วยกันเป็นผูก โดยเรียงลาดับจากแผ่นแรกถึงแผ่นสุดท้ายตามลาดับพยัญชนะมอญ ใบลาน ๑ ใบลาน จะมีขนาดความยาวตั้งแต่ ๘ นิ้ว จนถึง ๒๐ นิ้ว จารข้อความได้ทั้งสองด้าน ด้านละ ๔-๖ บรรทัด จานวนใบลานแต่ละผูกมีจานวนใบลานไม่เท่ากัน ส่วนใหญ่มักลงด้วยจานวนเลขคู่ เช่น ๒๔ ใบ ๒๖ใบ ๒๘ ใบ ๓๐ ใบ ๓๒ ใบ เป็นต้น คัมภีร์เรื่องยาวบางผูกอาจมีจานวนใบลานมากกว่า ๖๐ ใบ แต่ส่วนใหญ่จะมีจานวน ๒๔ - ๓๒ ใบ

ใบลานมอญจานวนมากได้ถูกทาลายเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๐ ที่พม่าได้เข้ายึดครองมอญเผากรุงหงสาวดี ส่วนที่เหลือรอดจากการเผาทาลายครั้งนั้น คนมอญได้นาไปซ่อนไว้ตามป่าตามถ้า จากนั้นได้นาเข้ามาในประเทศไทย เมื่อมีการอพยพของคนมอญมาอยู่ในประเทศไทย และมีการจารขึ้นใหม่จานวนมากในประเทศไทยช่วงตั้งแต่สมัยธนบุรีถึงสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันคัมภีร์ใบลานมอญยังมีอยู่มากในวัดมอญที่อยู่ในชุมชนมอญในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งที่วัดมอญในกรุงเทพมหานคร และในจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรปราการ ราชบุรี และลพบุรี เป็นต้น

วรรณกรรมใบลานมอญ

วรรณกรรมใบลานมอญ สามารถแบ่งกลุ่มหรือประเภทวรรณกรรมตามเนื้อหา ได้แก่ กลุ่มที่เกี่ยวกับพระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับพระสูตร พระวินัยและพระอภิธรรม รวมถึงอรรถกถาฎีกา โยชนาปกรณ์พิเศษ พระธรรมบท มงคลสูตร เป็นต้น กลุ่มเรื่องชาดก เป็นเรื่องที่นำมาจากพระสูตรในพระไตรปิฎกมารวม ที่เรียกว่านิบาตชาดก เช่น เอกนิบาต ทุกกะติกกะนิบาต ทศชาติชาดก ซึ่งเป็นชาดกที่ยาวถึง ๑๓ กัณฑ์ รวมทั้งชาดกที่เรียกว่าชาดกนอกนิบาตหรือชาดกพื้นบ้าน และ ปัญญาสชาดก กลุ่มตำราเรียนบาลีไวยกรณ์ สาหรับพระสงฆ์สามเณรมอญเรียนเพื่อสอบเป็นเปรียญรามัญ กลุ่มคำสวดต่างๆ เช่น พระปริต ปาฏิโมกข์ กลุ่มพระธรรมเทศนาและการปฏิบัติธรรม เช่น คัมภีร์วิสุ ทธิมรรค มิลินทปัญหา พระอภิธรรม ปฐมสมโพธิ์ มังคลสูตร เทศนาสังคายนา กลุ่มธรรมศาสตร์และกฎหมายต่างๆ เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์มอญในอดีตตราไว้ใช้ปกครองบ้านเมือง และเป็นต้นกาเนิดของพระธรรมศาสตร์ไทยและพม่า กลุ่มประวัติศาสตร์และตำนานต่าง ๆ เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงกษัตริย์มอญบ้านเมือง และเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น เช่น ตำนานพระธาตุ ตำนานการสร้างเมืองสุธรรมวดี การสร้างเมืองหงสาวดี พระเจ้าราชาธิราช พระเจ้าธรรมเจดีย์ พงศาวดารมอญ ตำนานพระธาตุสุวรรณภูมิ กลุ่มนิทานและประวัติบุคคล เป็นวรรณกรรมที่มีเนื้อหาให้ความเพลิดเพลิน ความรู้และแทรกคติเตือนใจทางพุทธศาสนา เช่น เรื่องพระมาลัย พระอุปคุต พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าปัสเสนทิโกศล ประวัติพระเถระพระเถรี สาหรับนิทานนั้นเป็นนิทานพื้นบ้านมอญ บางเรื่องคล้ายนิทานชาดกในพุทธศาสนา บางเรื่องคล้ายนิทานของไทย เช่น ขุนช้างขุนแผน ไกรทอง กลุ่มคำสอน คำกล่าว คำบอก แนวปฏิบัติในการดารงชีวิต คัมภีร์กลุ่มนี้มีวัตถุประสงค์ให้ ความสานึกและได้รู้ในสิ่งที่ควรทาและสิ่งที่ไม่ควรทา เพื่อให้การดาเนินชีวิตถูกต้องตามทานองคลองธรรม และมีความสุขความเจริญ เช่น เรื่อง คาสอนศิษย์วัด โลกสมมุติ สัพพปมา โบราณสาร เป็นต้น กลุ่มตำราหรือความรู้ต่างๆ เช่น ตำรายา ตำราโหราศาสตร์ ตำราฉันลักษณ์ การคำนวณลักษณะของเจดีย์ ๓๒ ประการ ความรู้เกี่ยวกับจักรวาล บททำขวัญต่าง ๆ เช่น ทำขวัญนาค ทำขวัญโกนจุก การกล่าวต้อนรับขันหมากในงานแต่งงาน

กระดาษเพลา

กระดาษไทยแผ่นบางๆ มีลักษณะสี่เหลี่ยม มีขนาดเล่มยาวแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์การใช้งาน กระดาษเพลาทำจากเปลือกไม้ที่สามารถนำมาใช้ทำกระดาษได้ เช่น ข่อย หรือ สา เป็นต้น การนำไปใช้งาน ส่วนมากนำไปเขียนข้อความที่เกี่ยวกับหน่วยงานราชการ ต้องประทับตราสัญลักษณ์ประจำตัวบุคคลที่เป็นผู้ออกหนังสือนั้น

กระดาษฝรั่ง-สมุด

กระดาษฝรั่งเป็นกระดาษแผ่นบางๆ ทำจากฟางเยื่อไม้ไผ่ เปลือกไม้ หญ้า ใช้เขียนหรือพิมพ์หนังสือ ชาวตะวันตกเป็นผู้ผลิตและนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย จึงเรียกว่ากระดาษฝรั่ง กระดาษฝรั่งนำมาใช้เขียนบันทึกเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆ เมื่อนำกระดาษฝรั่งมาเย็บรวมเป็นเล่มเกิดเป็นสมุดฝรั่ง กระดาษฝรั่งเมื่อนำมาพิมพ์มีตัวอักษร รูปภาพต่างๆ เป็นหนังสือเล่ม

อ้างอิง

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2516). ความทรงจำ. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

ปรีดี พิศภูมิวิถี. (เมษายน 2562). บทบาทและอิทธิพลของ “มอญ” ในราช สำนักสยามเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์. ศิลปวัฒนธรรม.

ปรีดี พิศภูมิวิถี. (). พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ “พระราชนิยมมอญ” ศิลปวัฒนธรรม. หน้า 20

สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
9/9 หมู่.9 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร.02-504-7463-65