สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรงเป็นผู้ที่สนใจในด้านการศึกษาของสตรีเป็นอย่างมาก ทรงตะหนักว่าความเจริญรุ่งเรืองของชาติบ้านเมืองจะบรรลุผลสำเร็จได้ต้องขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชนทั้งชายและหญิง ทรงเห็นว่าสตรีนั้นยังได้รับการศึกษาน้อยมากเมื่อเทียบกับผู้ชาย เพราะขาดผู้อุดหนุนชักนำ จึงทรงมีพระประสงค์ใครเปิดโอกาสให้สตรีไทยได้รับคามรู้อันเป็นทางก้าวสู่อารยธรรมเทียบกับสตรีในต่างประเทศ ผู้มีสติปัญญาจะช่วยกันจรรโลงประเทศชาติให้เจริญขึ้นในอนาคตได้ พระองค์จึงทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อทรงจัดตั้งโรงเรียนสตรีขึ้น และทรงพระกรุณารับอุปถัมภ์พระราชทานเงินเดือนแก่ครูด้วย และถ้าข้าหลวงในตำหนักมีความสามารถทางใดก็จะส่งเสริมไปในทางนั้น ถ้าหากว่าสติปัญญาดีก็จะส่งเข้าศึกษาในโรงเรียต่างๆ เช่น โรงเรียนราชินี โรงเรียนเสาวภา บางคนเมื่อจบการศึกษาแล้วก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็นครูสอนในโรงเรียนราชินีด้วย
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินี ทรงเลือกกุลสตรี 4 คน ในพระตำหนักที่ทรงเห็นว่ามีความประพฤติดี มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดไปเรียนวิชาทางด้านการเรือนที่ญี่ปุ่น เนื่องจากต้องการให้การจัดการศึกษาของสตรีในพระตำหนักได้รับความรู้ที่ก้าวหน้าและทันสมัย พร้อมกันนี้พระบรมโอรสาธิราช (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้ทรงเลือกมหาดเล็กของพระองค์เดินทางไปเรียน ด้านการทอผ้า เลี้ยงไหมและทำทอง จำนวน 4 คน คือ หม่อเจ้าพงษ์ภูวนารถ ม.ล. โป้ย มาลากุล (พระยาเทวธิราช) นายเจริญ สวัสดิ์ชูโต (พระยาพระเทพปรีดา) นายเสริม ภูมิรัตน์ (หลวงประกาศโกศัยวิทย์) นักเรียนไทยทั้ง 8 คน เป็นนักเรียนไทยรุ่นแรกที่ได้ไปศึกษาต่างแดน ณ ประเทศญี่ปุ่น โดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรงจ้างครูญี่ปุ่นให้ดูแลและให้เข้าไปอยู่ในครอบครัวครูด้วย
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงสนับสนุนด้านงานฝีมือสำหรับสตรี โดยเฉพาะด้านการเย็บ ปัก ถักร้อย ทุกชนิด ทรงเสาะแสวงหาผู้ที่มีฝีมือไว้เป็นพนักงานช่างในพระราชสำนักและพระองค์ทรงคัดเลือกจากเจ้านายเชื้อพระวงศ์และพวกข้าหลวงฝ่ายในที่มีความรู้ฝึกงานช่างฝึมือขึ้นที่พระตำหนักชั้นล่าง มีทั้งการปักสะดึงไทย หักทองแล่งทอขวาง การประดิษฐ์จัดดอกไม้สดต่างๆ รวมถึงการพับจีบ อบร่ำ ปรุงเครื่องหอมและการแกะสลักผลไม้ตามวธีที่นิยมกันในพระราชสำนักมาแต่สมัยโบราณ โดยมีเชื้อพระวงศ์รุ่นเก่าที่มีอายุมากแล้วหากแต่ยังมีความชำนาญงานอยู่มาเป็นครูสอนแก่ข้าราชบริพารต่างๆ ของพระองค์ในตำหนัก โดยทรงอุปการะชุบเลี้ยงและให้เบี้ยหวัดเงินปีด้วย ถ้าคนไหนมีฝีมือดีมากก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลงานของพวกข้าหลวง ตลอดจนอบรมฝึกสอนถ่ายทอดวิชาให้แก่ผู้เรียนให้ได้รับความรู้แลความชำนาญเพื่อที่จะสามารถประดิษฐ์งานได้ตามแบบที่ทรงพระราชดำริให้สำเร็จงดงามตามพระราชประสงค์ด้วย
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินและทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโรงเรียนสตรีขี้น พระราชทานนามว่า โรงเรียนเสาวภา ซึ่งเปิดสอนเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440
ต่อมาใน พ.ศ. 2449 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนราชินีขึ้นเป็นโรงเรียนในพระองค์ และจากการที่พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างให้แต่สมเด็จกรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ณ ที่ของโรงเรียนเสาวภา จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ จัดการรือถอนโรงเรียนไปสร้างเพิ่มเติมขึ้นที่บ้านขุนหลวงพระยาไกรศรี (เปล่ง) ที่ถนนบ้านหม้อ ซึ่งในขณะนั้นเป็นโรงเรียนบำรุงสตรีวิชา โปรดให้รวมโรงเรียนเสาวภากับโรงเรียนบำรุงสตรีวิชา แล้วได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเสาวภาแต่นั้นมา และได้คัดนักเรียนชายออกให้เรียนแต่นักเรียนหญิงล้วน
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินี ทรงเลือกกุลสตรี 4 คน ในพระตำหนักที่ทรงเห็นว่ามีความประพฤติดี มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดไปเรียนวิชาทางด้านการเรือนที่ญี่ปุ่น เนื่องจากต้องการให้การจัดการศึกษาของสตรีในพระตำหนักได้รับความรู้ที่ก้าวหน้าและทันสมัย พร้อมกันนี้พระบรมโอรสาธิราช (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้ทรงเลือกมหาดเล็กของพระองค์เดินทางไปเรียน ด้านการทอผ้า เลี้ยงไหมและทำทอง จำนวน 4 คน คือ หม่อเจ้าพงษ์ภูวนารถ ม.ล. โป้ย มาลากุล (พระยาเทวธิราช) นายเจริญ สวัสดิ์ชูโต (พระยาพระเทพปรีดา) นายเสริม ภูมิรัตน์ (หลวงประกาศโกศัยวิทย์) นักเรียนไทยทั้ง 8 คน เป็นนักเรียนไทยรุ่นแรกที่ได้ไปศึกษาต่างแดน ณ ประเทศญี่ปุ่น โดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรงจ้างครูญี่ปุ่นให้ดูแลและให้เข้าไปอยู่ในครอบครัวครูด้วย