ขนมไทย ส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปมาจาก ข้าว เนื่องจากในสมัยก่อนบ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ ทำนาเพื่อไว้ใช้บริโภค ได้ผลผลิตมามาย จึงนำส่วนหนึ่งที่มีมากมายมาแปรรูป ดังที่สุจิตต์ วงษ์เทศ ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการกินข้าวของคนไทยว่า “พื้นฐานการกินข้าวแต่ดั้งเดิมของผู้คนในตระกูลไทย-ลาว ก็คือข้าวเหนียวหรือข้าวนึ่ง มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ก่อนสมัยทวารวดี...ต่อมาภายหลังข้าวเจ้าก็แพร่หลายในภาคกลางและภาคใต้มากกว่าข้าวเหนียว เพราะดินแดนเหล่านี้อยู่ใกล้ทะเล...ตลอดถึงสภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวย จึงทำให้ข้าเจ้าแพร่หลายมากกว่า” แป้งทำขนมส่วนใหญ่ใช้แป้งข้าวเหนียว ทำมาจากข้าวเหนียวเป็นหลัก เพราะเดิมคนไทยปลูกข้าวเหนียวและบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก และข้าวเหนียวมีคุณสมบัติจับตัวกันง่ายจึงเหมาะแก่การทำขนม ส่วนข้าวเจ้าปลูกเพื่อทำขนมจีนและขนมอื่นๆ บ้าง

<

อ้างอิง

ส. พลายน้อย. (2545). ขนมแม่เอ๊ย (พิมพ์ครั้งที่ 3 แก้ไขปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สารคดี.

ชิดชนก ชมพฤก. (ธันวาคม 2539). ปรัมปราจาก “ป่าขนม”. ศิลปวัฒนธรรม, 18(2), 110-113.

สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
9/9 หมู่.9 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร.02-504-7463-65