หลักเมือง เป็นสัญลักษณ์ของการตั้งเมืองใหม่ เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แสดงถึงการเป็น หลักชัย แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และเป็น แกนเมือง แห่งใหม่ มีศูนย์กลางอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงธนบุรี ตราบจนปัจจุบัน
เมื่อครั้งเปลี่ยนแผ่นดินจากกรุงธนบุรีมาเป็นกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงปราบดาพิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระราชอุตสาหะที่จะสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นมาใหม่บนสถานที่แห่งใหม่ คือที่เมืองบางกอก โดยการขยายพื้นที่และย้ายศูนย์กลางการปกครองจากฝั่งตะวันตกออกมาทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และโปรดให้มีการยกเสาหลักเมืองตามหลักนครฐานและหลักตำราพิชัยสงคราม เพื่อให้หลักเมืองเป็น หลักชัยแรก และเป็น แกนของพระนครแห่งใหม่ บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทรงเร่งดำเนินการให้เมืองแห่งใหม่เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์และพร้อมสรรพในทุกๆ ด้าน โดยมีพระราชประสงค์อาณาประชาราษฎร์ได้ทราบถึงความแน่วแน่ในการไม่คิดกลับไปบูรณปฏิสังขรณ์กรุงศรีอยุธยา ที่กรุงเก่าแล้ว แต่จะทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาแห่งใหม่ บนแผ่นดินบางกอกฝั่งตะวันออก ในนาม กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา หรือ รตนโกสินฺอินฺอโญยชฺฌํ
เมื่อครั้งเปลี่ยนแผ่นดินจากกรุงธนบุรีมาเป็นกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงปราบดาพิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระราชอุตสาหะที่จะสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นมาใหม่บนสถานที่แห่งใหม่ คือที่เมืองบางกอก โดยการขยายพื้นที่และย้ายศูนย์กลางการปกครองจากฝั่งตะวันตกออกมาทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และโปรดให้มีการยกเสาหลักเมืองตามหลักนครฐานและหลักตำราพิชัยสงคราม เพื่อให้หลักเมืองเป็น หลักชัยแรก และเป็น แกนของพระนครแห่งใหม่ บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทรงเร่งดำเนินการให้เมืองแห่งใหม่เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์และพร้อมสรรพในทุกๆ ด้าน โดยมีพระราชประสงค์อาณาประชาราษฎร์ได้ทราบถึงความแน่วแน่ในการไม่คิดกลับไปบูรณปฏิสังขรณ์กรุงศรีอยุธยา ที่กรุงเก่าแล้ว แต่จะทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาแห่งใหม่ บนแผ่นดินบางกอกฝั่งตะวันออก ในนาม กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา หรือ รตนโกสินฺอินฺอโญยชฺฌํ
ครุฑนาม มีต้นไม้ใหญ่ 1 ต้นขึ้นอยู่บนบริเวณที่มีจอมปลวกหรือภูเขา
พยัคฆนา ตั้งอยู่บริเวณขอบชายป่า
สีหนาม มีต้นไม้ใหญ่ 3 ต้น ขึ้นบนบริเวณที่มีจอมปลวกหรือภูเขา
สุนัขนาม อยู่บริเวณทางใกล้หมู่บ้าน
นาคนาม อยู่ใกล้กับทางน้ำ
มุสิกนาม อยู่ใกล้กับบริเวณที่มีโพรงไม้หรือจอมปลวก
อัชนาม อยู่ในบริเวณกลางทุ่ง
คชนาม อยู่ในบริเวณป่าไม้ มีหนามและหญ้าอันเป็นอาหารของช้าง
นาคนาม ตามตำราพิชัยสงคราม เป็นการเลือกชัยภูมิที่เหมาะสมซึ่งอยู่ติดกับแหล่งน้ำ กรุงรัตนโกสินทร์ฝั่งตะวันออกมีชัยภูมิอยู่ติดกับแแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองคูเมือง รวมถึงคลองรอบกรุง ซึ่งสอดคล้องตามตำราพิชัยสงคราม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงมองประเด็นด้านชัยภูมิเป็นลำดับแรก กล่าวคือ ทรงเห็นว่าบางกอก มีลักษณะตรงกับการตั้งทัพตามคติ นาคนาม คือ มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน จึงทรงดูฤกษ์ยาม วัน และเดือน ที่เหมาสมกับการลงหลักเมือง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ภายในใต้นามใหม่ว่า กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา โดยได้ทรงย้ายศูนย์กลางของเมืองไปทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยทรงเห็นว่ามีชัยภูมิดีกว่าศูนย์กลางของเมืองธนบุรีฝั่งตะวันตก และทรงสั่งให้สร้างเสาหลักเมือง โดยมีนัยยะของการสร้างเมืองใหม่ คือ หลักเมือง มีความสัมพันธ์กับกรุงธนบุรี เนื่องด้วยกรุงรัตนโกสินทร์มีรากฐานเดิมมาจากแผ่นดินฝั่งตะวันตกของกรุงธนบุรี โดยเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงมีนิวาสสถานเดิมอยู่ติดกับวัดบางหว้าใหญ่ หรือ วัดระฆังโฆสิตาราม ในปัจจุบัน และมีพระราชศรัทธาต่อสมเด็จพระสังฆราข (ศรี) แห่งวัดนั้น ความผูกพันต่อสถานที่พำนักและการมีพระราชศรัทธาต่อสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) จึงนำไปสู่การตั้งพระนครหลวงแห่งใหม่ อันเป็นผลมาจากสำนึกในถิ่นฐานเดิมที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงมีต่อที่พำนักอาศัยของพระองค์ หลักเมือง เป็นศูนย์กลางความมั่นคงแห่งใหม่และความหวังใหม่ การขยายพื้นที่มายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจาเหตุผลเรื่องพื้นที่ฝั่งตะวันตกคับแคบแล้ว สาเหตุสำคัญคือเพื่อให้กรุงรัตนโกสินทร์ไม่กลายเป็นเมืองอกแตก ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญหากต้องมีการป้องกันภัยจากพม่าที่มาจากทิศตะวันตกที่เต็มไปด้วยลำน้ำ คูคลอง ที่เชื่อมโยงเมืองสำคัญต่างๆ รอบนอกให้เข้าถึงกรุงธนบุรี ได้อย่างง่ายดาย กล่าวได้ว่า ทิศตะวันออกถือเป็นทิศมงคล เป็นทิศแห่งปัญญาและการเกิดขึ้นใหม่ แสดงถึงความหวัง ความรุ่งเรือง ของกรุงศรีอยุธยาแห่งใหม่ ณ ดินแดนบางกอก หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ่าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงปราบดาพิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี แล้ว เพียงระยะเวลา 1 เดือน ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะไม่กลับไปบูรณปฏิสังขรณ์กรุงศรีอยุธยา ณ กรุงเก่าแล้ว แต่ได้ทรงมุ่งมั่นสถาปนากรุงศรีอยุธยาแห่งใหม่บนแผ่นดินบางกอกในนาม กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา โดยเลือกชัยภูมิของเมืองอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
พระราชพิธีนครฐาน เป็นพระราชพิธียกเสาหลักเมืองตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง เพื่อเป็นสิริมงคลแก่การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจ สร้างความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ราษฎร และเพื่อเป็นนิมิตรหมายแสดงที่ตั้งแห่งพระนคร ในตำราพระราชพิธีนครฐาน ได้กล่าวถึงการเลือกใช้ไม้ชัยพฤกษ์ ในการทำเป็นเสาหลักเมือง กรุงรัตนโกสินทร์ ว่า …พระราชพิธีนครถานซึ่งจะฝังหลักพระนครนั้น ท่านให้เอาไม้ไชยพฤกษ์มาทำหลักเมือง เอาไม่แก่นประกับนอก โดยสูงอยู่บนดิน 108 นิ้ว อยู่ใต้ดิน 78 นิ้ว… ความเชื่อเรื่องไม้ (ไชย) ชัยพฤกษ์ ว่าเป็นต้นไม้แห่งความโชคชัย หมายถึง การมีโชคชัย ชัยชนะ ชนะสิ่งทั้งปวง สมัยโบราณใช้เสาแก่นไม้ชัยพฤกษ์ในพิธีสำคัญ เช่น พิธีลงหลักเมือง และใช้ในการทำยอดชัยเฉลิมพลและคฑาพล
หลักเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นแกนเมืองแห่งแรกที่อยู่ใจกลางพระนคร เปรียบเสมือนแกนเมืองใหม่ ที่เชื่อมโยงผืนแผ่นดินบางกอกทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นการอิงแกนในลักษณะของภูมิสัญลักษณ์ จากองค์ประกอบสำคัญของเมืองฝั่งตะวันตกและเมืองฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา การกำหนดพิกัดได้ถูกวางโดยอิงหลักเชื่อมแกน จากภูมิสัญลักษณ์อันเป็นพื้นที่สำคัญทางฝั่งตะวันตกที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพำนักและผูกพันมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงธนบุรี คือ วัดบางหว้าใหญ่ โดยสิ่งสำคัญที่ใช้เป็นแกนหลัก คือ พระธาตุเจดีย์ ของวัดบางหว้าใหญ่ พิกัดของหลักเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงแกนมาจากที่ตั้งของพระธาตุเจดีย์ของวัดบางหว้าใหญ่ ซึ่งเป็นภูมิสถานอันเป็นศาสนสถานของทั้งสองฟากลำน้ำ เป็นจุดเริ่มแรกของการเชื่อมโยงแผ่นดินทั้งสองฝั่งนี้
วรลักษณ์ ผ่องสุขสวัสดิ์. (2551). หลักเมือง หลักชัยแห่งราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ: บ้านหนังสือโกสินทร์.
สวรรค์ ตั้งตรงสิทธิกุล. (เมษายน 2548). การสร้าง “หลักชัย แกนเมือง” เมื่อแรกสถาปนากรุงนัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา. ศิลปวัฒนธรรม, 36(6), 102-119.