แม้ความเป็นเครือญาติจะจางหายด้วยกาลเวลาและระยะทาง แต่หากสืบสาวเรื่องราวประวัติศาสตร์แล้ว ความเป็นสายเลือด ชาติพันธุ์ และความผูกพันยังคงมีอยู่จริงแท้
ตะกูลขุนนางมอญชั้นสูงได้อพยพเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่สมัยธนบุรีราว พ.ศ. 2317 ครั้งที่พญาเจ่ง (เจ้าพระยามหาโยธา) เจ้าเมืองเตริน พระโอรสในพระอนุชาพญาทะละ กษัตริย์มอญองค์สุดท้ายแห่งหงสาวดี ก่อนเสียเอกราชให้แก่พม่าใน พ.ศ. 2300 ภายหลังพญาเจ่งคิดกอบกู้เอกราชมอญคืนแต่ไม่สำเร็จ จึงกลายเป็นกบฏ พม่าจึงส่งทัพไปปราบปราม เผาทำลายเมืองย่างกุ้งและประหารชีวิตพระสงฆ์และขุนนางราชวงศ์ พญาเจ่งได้รวบรวมไพร่พลมอญอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงโปรดเกล้าฯ ให้มอญกลุ่มนี้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ปากเกร็ด ดังบันทึกในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขาว่า
“…ฝ่ายพวกรามัญที่หนีพม่ามานั้น พระยาเจ่ง ตละเลี้ยง ตละเกล็บ กับพระยากลางเมือง ซึ่งหนีเข้ามาครั้งกรุงเก่า... ให้ข้าหลวงไปรับมาถึงพระนครพร้อมกัน แล้วทรงพระกรุณาให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แขวงเมืองนนท์บ้าง เมืองสามโคกบ้าง โปรดให้หลวงบำเรอศักดิ์ครั้งกรุงเก่า เป็นเชื้อรามัญให้เป็นพระยารามัญวงศ์ เรียกว่า จักรีมอญ...”
พญาเจ่ง รับราชการในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แห่งราชวงศ์จักรี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่เจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง) ต้นสกุลคชเสนี ได้ถวายบุตรหลานเข้ารับราชการ ถ้าเป็นชายให้เข้ารับราชการฝ่ายหน้า เช่น บุตรชายชื่อ ทอเรียะ ได้เป็นที่เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) จุ้ย ได้เป็นที่พระยาดำรงราชพลขันธ์ เจ้าเมืองนครเขื่อนขันธ์ หรือ พระประแดง ถ้าเป็นหญิงก็ถวายเข้ารับราชการฝ่ายใน เช่น อิ่ม เจ้าจอมในรัชกาลที่ 3 และ ซ่อนกลิ่น เจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ 4 บุคคลในตระกูลคชเสนีรับราชการใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทมาทุกยุคทุกสมัย เช่นเดียวกับ เด็กหญิงเนื่อง ที่บิดาคือหลวงนราบริรักษ์ (เกร็บ นนทนาคร) ได้ถวายตัวให้อยู่ในปกครองของหม่อมลี
หลวงนราบริรักษ์เป็นน้องชายหลวงรามัญนนทเขตคดี (เจ็ก นนทนาคร) นายอำเภอคนแรกของอำเภอปากเกร็ด และเป็นหลานปู่ของพระรามัญนนทเขตคดี (ทับ นนทนาคร) ซึ่งเป็นบุตรคนหนึ่งของเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงทรัพย์ หลวงนราบริรักษ์ (เกร็บ นนทนาคร) ได้ถวายตัวเด็กหญิงเนื่อง ธิดาที่เกิดกับนางนราบริรักษ์ (อิ่ม นนทนาคร) ให้อยู่ในความปกครองของหม่อมลี จนกระทั่งอายุ 19 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดพระราชทานให้เป็นภริยาในเจ้าพระยาฤทธิสงครามรามภักดี หรือ ตนกูอับดุล ฮามิด เจ้าพระยาไทรบุรี (กลันตัน) เจ้าผู้ครองเมืองไทรบุรีและอดีตข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลไทรบุรีของไทยในเวลานั้น และเป็นไปตามพระประสงค์ที่ต้องการให้คุณหญิงเนื่องทำหน้าที่เชื่อมสัมพันธไมตรีกับเจ้านายทางหัวเมืองมลายู คุณหญิงเนื่อง นนทนาคร เป็นชายาคนที่ 4 ของสุลต่านอับดุล ฮามิด มีความเฉลียวฉลาดและมีความเป็นธรรม เป็นที่รักและเคารพของชาวเมืองไทรบุรี ได้รับการขนานามให้เป็นคุณแม่ของชาวเมืองไทรบุรี และยังเป็นมารดาของตนกูอับดุล รอห์มัน นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศมาเลเซีย
คุณหญิงเนื่องมีบุตรธิดากับเจ้าพระยาฤทธิสงครามรามภักดี รวม 8 คน ตนกูอับดุล รอห์มัน เป็นบุตรชายคนที่ 4 เกิดวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2446 อายุ 10 ปี เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ และไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ได้รับปริญญา B.S. เกียรตินิยม และศึกษาต่อด้านกฎหมาย สอบได้เนติบัณฑิตอังกฤษ และกลับมารับราชการที่เมืองไทรบุรี คุณหญิงเนื่องมีบุตรธิดากับเจ้าพระยาฤทธิสงครามรามภักดี รวม 8 คน ตนกูอับดุล รอห์มัน เป็นบุตรชายคนที่ 4 เกิดวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2446 อายุ 10 ปี เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ และไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ได้รับปริญญา B.S. เกียรตินิยม และศึกษาต่อด้านกฎหมาย สอบได้เนติบัณฑิตอังกฤษ และกลับมารับราชการที่เมืองไทรบุรี เมื่อมีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีมาเลเซียครั้งแรก หลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ ตนกูอับดุล รอห์มัน ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศมาเลเซีย ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐบุรุษ และได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งประเทศมาเลเซีย หรือ PaPa of Malyasia
สุลต่านนัซริน มูอิซซุดดิน ซาห์ ได้ขึ้นเป็นสุลต่านแห่งรัฐเประเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2557 พระชายาคือตนกูซารา ซาลิม รายา ทรงเข้าพิธีเสกสมรสกันเมื่อ พ.ศ. 2550 และในปี พ.ศ. 2557 ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น รายา ประไหมสุหรี แห่งรัฐปุระ ตนกูซารา ซาลิม รายา พระชายาทรงเป็นสมาชิกในราชวงศ์เกตะห์แห่งมาเลเซีย ที่สืบเชื้อสายมาจากสุลต่านอับดุล ฮามิด หรือเจ้าพระยาฤทธิสงครามรามภักดีกับคุณหญิงเนื่อง นนทนาคร สตรีในตระกูลขุนนางมอญของอำเภอปากเกร็ดที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมัยธนบุรี วันที่ 26 ตุลาคม 2560 สุลต่านนัชริน มูอิซซุดดิน ซาห์ แห่งรัฐเประ และตนกูซารา ซาลิม รายา ประไหมสุหรีแห่งรัฐเประ พระชายา เป็นผู้แทนพระองค์ในสมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งรัฐกลันตัน ยังดี เปอร์ตวน อากง พระองค์ที่ 15 แห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย ได้เสด็จมาร่วมในพระราชพิธีถวายเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรด้วย
พิศาล บุญผูก. (2553). ท้องถิ่นปากเกร็ด. นนทบุรี: โครงการเผยแพร่ผลงาน
บริการวิชาการแก่สังคม สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช.
องค์ บรรจุน. (2560.) เชื้อสายขุนนางมอญในราชวงศ์สุลต่านแห่งมาเลเซีย.
ศิลปวัฒนธรรม, 458(39), 25-31.