หมายถึงสิ่งก่อสร้างเหนือหลุมฝังศพ หรือสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อให้ลูกหลานและผู้เคารพนับถือได้สักการบูชา ถือกันว่ามีบุคคลที่ควรบรรจุอัฐิธาตุไว้ในสถูปเพื่อเป็นที่สักการะของมหาชนอยู่เพียง 4 พวก เรียกว่า ถูปารหบุคคล ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิ์
การที่เจดีย์มีความหมายครอบคลุมอย่างกว้างขวางดังที่กล่าวข้างต้น จึงพ้องกับความหมายของคำว่า สถูป ที่บ่งบอกถึงสิ่งก่อสร้างเหนือหลุมฝังศพ หรือสร้างเพื่อบรรจุอัฐิธาตุ ด้วยเหตุนี้ สถูปจึงใช้แทนเจดีย์เป็นเช่นนี้ในประเทศอินเดียสมัยโบราณมาแล้ว
ในสมัยสุโขทัย คำว่าสถูปและเจดีย์ใช้ควบคู่กัน ดังปรากฏในจารึกบางหลัก เช่น พระยามหาธรรมราชา ก่อ พระธาตุ หรือกล่าวถึง พระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งล้วนมีความหมายเดียวกับเจดีย์ แม้ในปัจจุบันนักวิชาการก็ยังเรียกพระสถูปเจดีย์เป็นคำ
ดอกบัว เป็นดอกไม้ที่หาได้ง่ายและเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะหลายแขนง ด้วยความสวยงามของรูปทรงที่อ่อนช้อย จึงนิยมใช้เป็นแบบลวดลายในลายไทย โดยเฉพาะประติมากรรม สถาปัตยกรรมทางศาสนา ในพระพุทธศาสนา ดอกบัวเปรียบกับสติปัญญาของคนซึ่งมีสี่เหล่า ได้แก่ อุคฆฏิตัญญู คือ พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที วิปจิตัญญู คือพวกที่มีสติปัญญาดี เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป เนยยะ คือพวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง ปทปรมะ คือ พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ
ประกอบด้วย ฐานเจดีย์ ซึ่งเป็นฐานเขียง 3 – 4 ฐาน และฐานบัว ถัดขึ้นไปเป็นองค์เจดีย์ มีฐานบัวลูกฟัก 2 ฐานซึ่งได้แบบอย่างจากศิลปะปราสาทเขมร เรือนธาตุ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มมีจระนำซุ้ม และไม่มี ส่วนบนเป็นยอดเจดีย์ทรงดอกบัวตูม มีรายละเอียด เช่นงานปูนปั้นรูปกลีบดอกบัว ซึ่งทำให้มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ของสุโขทัย
เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม เป็นสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัยที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น มีอายุอย่างช้าที่สุดคือปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20