aerobic girls

พระพิมพ์ในประเทศไทย

พระพิมพ์เป็นพระพุทธรูปขนาดเล็ก ทำจากดินลงมวลสารต่างๆ หรือ ชิน มีแม่พิมพ์เป็นแบบ เมื่อนำดินไปกดลงในแม่พิมพ์จะได้พระพิมพ์ พระพิมพ์ที่ทำจากดินมีทั้งพระพิมพ์ดินเผาและพระพิมพ์ดินดิบ

พระพิมพ์เนื้อชิน เป็นพระพิมพ์ที่หล่อด้วยชินซึ่งเป็นโลหะผสม หลอมเนื้อชินด้วยความร้อนจากนั้นเทลงในแม่พิมพ์

พระพิมพ์เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อการสืบพระพุทธศาสนา และสร้างเป็นพุทธบูชา ส่วนใหญ่จัดสร้างจำนวนมากและบรรจุไว้ที่สถูปเจดีย์

ในประเทศไทยมีการสร้างพระพิมพ์มาตั้งแต่สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) ต่อมามีการสร้างพระพิมพ์ต่อเนื่องกันมาคือ ศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-18) สมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 16-18) สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

นนทบุรี มีพระพิมพ์สมัยอยุธยา

กรุงศรีอยุธยาเป็นแหล่งรวมของศิลปะวัฒนธรรมที่รวบรวมจากวัฒนธรรมสุพรรณภูมิ สุโขทัย การสร้างพระพุทธรูปจึงเกิดขึ้นมากมายตามพัฒนาการของพุทธศาสนสถาน วัดวาอารามที่สร้างขึ้นจำนวนมากในสมัยอยุธยา

ช่วยปลายสมัยอยุธยา มีการสร้างพระพิมพ์ดินเผาเพื่อเป็นพุทธบูชากันมาก พระพิมพ์อยุธยามีขนาดใหญ่ มีความงามและมีหลายปาง คุณภาพของดินที่นำมาทำพระพิมพ์เป็นดินเหนียวมีคุณภาพดี เมื่อผ่านการเผาในอุณหภูมิที่เหมาะสมจะได้พระพิมพ์สีแดงแบบอิฐมอญและมีความแกร่งไม่แตกหักง่าย

แหล่งที่พบพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา จะพบได้เฉพาะในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนนทบุรี เป็นส่วนใหญ่ จังหวัดนนทบุรีมีการพบพระพิมพ์ดินเผาชุดนี้มากที่วัดเชิงท่า ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

ในสมัยรัตนโกสินทร์ คงมีการสร้างพระพิมพ์ดินเผาชุดนี้ต่อมาอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาแหล่งใหญ่ของประเทศไทย ได้มีการสร้างพระพิมพ์ชุดนี้บรรจุไว้ในเจดีย์ของวัดต่างๆ ในย่านชุมชนแห่งนี้มาก เช่นที่วัดปรมัยยิกาวาส วัดเสาธงทอง วัดฉิมพลี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่วัดปรมัยยิกาวาส ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดปรมัยยิกาวาส เมื่อ พ.ศ. 2417 ปรากฏว่ามีการบรรจุพระพิมพ์ชุดนี้ไว้เต็มฐานซ้มสีมาสี่มุมพระอุโบสถ วัดปรมัยยิกาวาส ได้สร้างพระพิมพ์ดินเผาชุดนี้อีก 2 ครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2472 และ พ.ศ. 2499 วัดไผ่ล้อมได้สร้างพระพิมพ์ชุดนี้เมื่อ พ.ศ. 2528

Mountain Reflection
Nature Girl

พระพิมพ์สมัยอยธุยา พระโคนสมอ

พระพิมพ์สมัยอยุธยา เริ่มมีการสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระส่วนใหญ่เป็นเนื้อดินและเนื้อชิน เป็นพระพิมพ์ประจำวันและพิมพ์อื่นๆ เช่น พิมพ์ปางมารวิชัย พิมพ์ซุ้มปราสาท พิมพ์ปางพญาชมภู เป็นต้น เป็นพระที่มีพุทธศิลป์ที่สวยงามตามแบบฉบับช่างหลวง ลายเส้นพิมพ์คมชัด

แต่เดิมพระพิมพ์ชุดนี้ไม่มีชื่อว่าอย่างไร ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีผู้พบพระพิมพ์ชุดนี้รวมไว้จำนวนมากที่โคนต้นสมอในวัดแห่งหนุ่ง ซึ่งคงสร้างไว้ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ไม่ทันจะบรรจุไว้ในเจดีย์ พระพิมพ์ชุดนี้จึงเรียกกันทั่วไปว่า พระโคนสมอ

พระโคนสมอ เป็นพระเครื่องที่มีพุทธลักษณะองค์พระสวยงาม ลายเส้นของพิมพ์สวย คม ชัด ลึก ตามพระพุทธลักษณะ สามารถแยกออกได้เป็น 2 ชนิด คือ พระเนื้อดินกรุเก่า เนื้อดินจะนุ่มกว่า รักทองที่ปรากฎจะติดแน่นและเรียบร้อย สามารถบอกได้ว่าเป็นพระที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาแน่นอน พระเนื้อดินกรุใหม่ สร้างตั้งแต่ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื้อของดินค่อนข้างหยาบกว่าเล็กน้อย รักทองจะใหม่สดกว่า

รูปแบบพระโคนสมอ

พระพิมพ์พระโคนสมอส่วนใหญ่กำหนดรูปแบบเป็นพระพุทธรูปปางต่างๆ ประจำวันทั้ง 7 วัน ได้แก่
aerobic girls

พระปางถวายเนตร

เป็นพระประจำวันอาทิตย์ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสอง เพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ข้างหน้าระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนอยู่บนพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวรทอดพระเนครต้นพระศรีมหาโพธิ์

พระปางห้ามญาติ

เป็นพระประจำวันจันทร์ พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถยืน ทอดพระหัตถ์ซ้ายลงข้างพระวรกาย ฝ่าพระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ และยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาทรงห้าม

พระปางไสยาสน์

เป็นพระประจำวันอังคาร พระพุทธรูปอยู่ในพระดิริยาบถบรรทมตะแคงขวา พระเศียรหนุนพระเขนย (หมอน) พระหัตถ์ซ้ายทอดไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาวางหงายอยู่ข้างพระเขนย พระบาทซ้ายทับพระบาทขวา

พระปางอุ้มบาตร

เป็นพระประจำวันพุธกลางวัน พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับยืนแสดงปางอุ้มบาตร พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตรเบื้องหน้าพระวรกาย

พระปางปาลิไลยก์

เป็นพระประจำวันพุธกลางคืน พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับบนก้อนศิลา พระบาททั้งสองมีดอกบัวรองรับพระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุ นิยมสร้างช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ อีกด้านหนึ่งมีลิงถวายรวงผึ้ง

พระปางสมาธิ

เป็นพระประจำวันพฤหัสบดี พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิ ฝ่าพระหัตถ์วางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับบนพระหัตถ์ซ้าย

พระปางรำพึง

เป็นพระประจำวันศุกร์ พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย

พรปางนาคปรก

เป็นพระประจำวันเสาร์ พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาวางซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขอดรางเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร