พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระราชพิธีสำคัญในประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระราชพิธีนี้มีมาตั้งแต่โบราณกาล
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระราชพิธีสำคัญในประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระราชพิธีนี้มีมาตั้งแต่โบราณกาล
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์ก็ได้แบบอย่างพระราชพิธีสมัยอยุธยาจากการตรวจสอบค้นคว้าจากหลักฐานแบบแผนสมัยกรุงเก่าเพื่อใช้ประกอบพระราชพิธีในรัชกาล
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสืบมาจนถึงปัจจุบัน เป็นพระราชพิธีที่แสดงพระเกียรติยศขององค์ประมุขในฐานะที่ทรงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์อย่างสมบูรณ์
ประกอบด้วยพิธีทั้งตามประเพณีพุทธและพราหมณ์
ตามคติความเชื่อของเอเชียที่มีมาตั้งแต่โบราณ มีตำนานที่เกี่ยวกับต้นไม้มงคลหรือต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ และความเชื่อว่าจะทำให้เกิดความเจริญ ความสุข
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จึงมีต้นไม้มงคลที่ใช้ประดับ ใช้ประกอบพระราชพิธี ใช้สร้างเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์บางอย่าง
อินเดียเรียกหญ้าชนิดนี้ว่า “กุศ” พราหมณ์ใช้ประกอบพิธีบูชาเทพยดา ประพรมน้ำมนตร์ ตามตำนานพราหมณ์ว่าเป็นหญ้าที่เกิดจากการกวนเกษียรสมุทร คือ เมื่อครั้งที่เทวดาและอสูรร่วมกันกวนน้ำอมฤตในทะเลน้ำนมหรือเกษียรสมุทร เส้นผมของเทวดาหลุดร่วงลงในเกษียรสมุทรหรือทะเลน้ำนมเป็นจำนวนมาก และถูกคลื่นซัดไปติดฝั่ง ต่อมาจึงมีรากและเจริญเติบโตกลายเป็นต้นหญ้ากุศะ บางตำนานกล่าวว่า เมื่อได้น้ำอมฤตจากกวนเกษียรสมุทรแล้ว พระนารายณ์ได้แปลงกายเป็นนางอัปสรกระเดียดหม้อน้ำอมฤตแจกให้เทวดาดื่ม ทำให้หม้อไปขูดผิวหนังที่เอวของพระนารายณ์ถลอก เศษหนังเมื่อตกสู่พื้นดินก็งอกเป็นต้น ดังนั้นจึงนับถือหญ้ากุศะว่าเป็นหญ้าศักดิ์สิทธิ์ เพราะเห็นว่าเกิดจากชิ้นส่วนของเทพผู้ยิ่งใหญ่
ส่วนตำนานสงครามครุฑและนาคเล่าว่า พญาครุฑกับพญานาค มีบิดาเดียวกัน แต่ต่างมารดา ครั้งหนึ่งมารดาพญาครุฑตกเป็นทาสของพญานาค
โดยพวกนาคว่า ต้องไปเอาน้ำอมฤตให้นาคก่อนจึงจะให้มารดาครุฑเป็นไท ครุฑจึงบินไปสวรรค์เพื่อเอาน้ำอมฤตซึ่งอยู่กับพระจันทร์ แล้วคว้าพระจันทร์มาซ่อนไว้ใต้ปีก
แต่ถูกพระอินทร์และทวยเทพติดตามมา และเกิดต่อสู้กันขึ้น ฝ่ายเทวดานั้นไม่อาจเอาชนะได้ โดยเมื่อพระอินทร์ใช้วัชระโจมตีครุฑนั้น ครุฑไม่ได้รับบาดเจ็บแม้แต่น้อย
แต่ครุฑก็จำได้ว่าวัชระเป็นอาวุธที่พระอิศวรประทานให้แก่พระอินทร์ จึงสลัดขนของตนให้หล่นลงไปหนึ่งเส้นเพื่อแสดงความเคารพต่อวัชระและรักษาเกียรติของพระอินทร์ผู้เป็นหัวหน้าของเหล่าเทพ
ด้านพระวิษณุหรือพระนารายณ์ก็ออกมาขวางครุฑไว้และสู้รบพญาครุฑด้วยเช่นกัน แต่ไม่ทั้งสองฝ่ายอาจเอาชนะกันได้
และเป็นธงครุฑพ่าห์สำหรับปักอยู่บนรถศึกของพระวิษณุอันเป็นที่สูงกว่า เมื่อครุฑได้หม้อน้ำอมฤตนั้น พระอินทร์ได้ตามมาขอคืน
ครุฑก็บอกว่าตนต้องรักษาสัตย์ที่จะนำไปให้นาคเพื่อไถ่มารดาให้พ้นจากการเป็นทาส และให้พระอินทร์ตามไปเอาคืนเอง ครุฑจึงเอาน้ำอมฤตไปให้นาคโดยวางไว้บนหญ้ากุศะ
และว่าได้ทำน้ำอมฤตหยดบนหญ้า 2-3 หยด ด้วยเหตุนี้ จึงถือเป็นสิ่งมงคลในทางศาสนาพราหมณ์ ส่วนนาคเมื่อเห็นน้ำอมฤตก็ยินดี จึงยอมปล่อยนางวินตาแม่ครุฑให้เป็นอิสระ
ขณะพากันไปสรงน้ำชำระกายเพื่อจะมากินน้ำอมฤตนั่นเอง พระอินทร์ก็นำหม้อน้ำอมฤตกลับไป ทำให้นาคไม่ได้กิน พวกงูมาเลียที่ใบหญ้าด้วยเชื่อว่าอาจมีหยดน้ำอมฤตหลงเหลืออยู่
ทำให้ใบหญ้าบาดกลางลิ้นเป็นทางยาว เรื่องนี้กลายเป็นที่มาว่าทำไมงูจึงมีลิ้นเป็นสองแฉกสืบมาจนทุกวันนี้ แต่นั้นมาครุฑกับนาคจึงเป็นศัตรูกันมาโดยตลอด
และครุฑนั้นก็จะจับนาคกินเป็นอาหารเสมอ
ในพระพุทธประวัติ หญ้ากุศะเคยถูกใช้ปูลาดเป็นอาสนะถวายพระพุทธเจ้า โดยพราหมณ์โสตถิยะถวายหญ้า ๘ กำแก่พระพุทธองค์ พระมหาบุรุษทรงรับ
แล้วทรงนำไปปูเป็นอาสนะสำหรับประทับนั่งที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ในวันก่อนตรัสรู้
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ใช้หญ้ากุศะปูลาดบนพระที่นั่งภัทรบิฐ
โรยแป้งสาลีแล้วลาดเบื้องบนด้วยหนังราชสีห์หรือแผ่นทองลายรูปราชสีห์ ตามความเชื่อในตำนานดังกล่าวข้างต้นที่ว่าหญ้าเกิดจากหนังของพระนารายณ์
สำหรับเป็นที่ประทับรับการถวายพระสุพรรณบัฏ เครื่องราชกกุธภัณฑ์และพระแสงอัษฎาวุธ ซึ่งเป็นความหมายว่าทรงรับการถวายพระเกียรติยศในฐานะพระราชาธิบดีของแผ่นดิน
พราหมณ์ยังใช้หญ้ากุศะถักเป็นพระสังวาลย์พราหมณ์สำหรับเป็นเครื่องราชูปโภค เป็นสายสิญจน์โยงรอบพระมหามณเฑียร
ใช้ประดับตกแต่งสถานที่ประกอบพระราชพิธี เป็นสัญลักษณ์หมายถึงความเจริญรุ่งเรืองอุดมสมบูรณ์ ตามคัมภีร์พราหมณ์เชื่อว่าอ้อยเป็นต้นไม้ที่พระฤษีวิศวามิตร เนรมิตขึ้นคราวที่เนรมิตเมืองสวรรค์ในแดนมนุษย์ให้แก่ ท้าวตรีศังกุ เป็นกษัตริย์แห่งสุริยวงศ์พระองค์หนึ่ง ผู้ครองนครศรีอโยธยาได้เที่ยวชม เรื่องราวของกษัตริย์องค์นี้ปรากฎอยู่ในหนังสือหลายเล่ม ที่สำคัญคือ รามายณะ วิษณุปุราณะ และหริวงศ์ เมื่อท้าวตรีศังกุสวรรคตแล้ว เมืองสวรรค์ชั่วคราวนี้ก็สูญสิ้นไป คงเหลือต้นไม้ชนิดหนึ่ง คือต้นอ้อย ไว้บนโลกมนุษย์ จึงเชื่อกันว่าเป็นต้นไม้ประดับวิมาน ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก การใช้ต้นอ้อยประดับตกแต่งจึงเสมือนว่าพระมหามณเฑียรคือเมืองสวรรค์จำลอง
ใช้ดอกหมาก หรือจั่นหมากในการสมโภชพระมหามณเฑียร มีการสันนิษฐานว่าน่าจะหมายถึงความอุดมสมบูรณ์และความเจริญรุ่งเรือง ถึงพระฤกษ์เวลา 9.51 ล.ท. เป็นประถม ชาวประโคมลั่นฆ้องชัย ประโคมแตรสังข์เครื่องดุริยดนตรี เสด็จขึ้นประทับบนพระที่บรรธม สมเด็จพระมาตุฉาเจ้า พระบรมราชเทวี ถวายพระแส้หางช้างเผือก พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ถวายจั่นหมาก ท้าววรคณานันท์ถวายกุญแจทอง ทรงรับวางข้างพระที่นั่งทั้ง 3 สิ่งแล้ว สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าและพระนางเจ้าพระราชเทวีถวายพระพรชัยมงคล ทรงเอนพระองค์ลงแทบที่พระบรรธม เป็นพระฤกษ์ เป็นอันได้เข้าที่ในพระมหามณเฑียร
ใช้ดอกมะพร้าวหรือจั่นมะพร้าวประดับบริเวณมณฑลพิธีและสถานที่ที่ใช้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จั่นมะพร้าวเป็นที่เกิดของผล หมายถึงความสุขความเจริญ อุดมสมบูรณ์ ปลูกโรงพระราชพิธีพราหมณ์ ที่ริมกำแพงนอกฉนวนในสวนศิวาลัย ผันหน้าโรงทางทิศใต้ มีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ทำด้วยไม้จริงปิดทองน้ำตะโก หลังคาคาดผ้าขาวเพดานบุผ้าขาวมีไม้โขลนทวารปักราชวัตรตาชะแลงทาว มีฉัตรธงกระดาษห้าชั้น ผูกต้นกล้วยต้นอ้อยจั่นหมากจั่นมะพร้าว
อินเดียเรียกว่า เวฬุ เป็นใบไม้ที่ใช้ประกอบพิธีมงคล ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพราหมณ์ถวายใบมะตูมแก่พระหากษัตริย์ให้ทรงทัดที่พระกรรณ คติความเชื่อว่าสำหรับขับเสนียดจัญไร ภูตผีปีศาจ ศาสนาฮินดูไศวนิกายเชื่อว่าเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระศิวะ และลักษณะที่เป็นสามแฉก เหมือนเทพเจ้าฮินดูตรีมูรติ
พระราชครูวามเทพมุนีถวายน้ำพระมหาสังข์ พราหมณ์เป่าสังข์ถวายใบไม้สมิตก้านพันผ้าขาวสำหรับทรงปัด 3 อย่าง คือ ใบมะม่วง 25 ใบ ปัดภยันตราย ใบทอง 32 ใบ ปัดอุปัทวันตราย ใบตะขบ 96 ใบ ปัดโรคันตราย แล้วพระครูวามเทพมุนีรับพระราชทานไปกระทำศาสตรบุณยาชุบโหมเพลิง. ตามคติความเชื่อของฮินดู มะม่วงเป็นภาคหนึ่งของพระพรหม และเกิดขึ้นที่เขาไกรลาส จึงถือว่าเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เอาใบมาใช้ในพิธีมงคล สำหรับพระมหากษัตริย์ทรงใช้ปัดภยันตรายต่างๆ ตามพระวรกาย ใบตะขบยังเป็นใบไม้สำหรับทรงเหยียบขึ้นบนพระที่นั่งเพื่อทรงรับน้ำพระพุทธมนต์ในพระราชพิธีสรงน้ำมุรธาภิเษก
ใช้ในพิธีมงคล ตามคติความเชื่อที่ว่า ต้นพิกุลทอง เป็นต้นไม้ในสวนของพระอินทร์ ตามคติที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ จึงมีการทำดอกพิกุลเงินพิกุลทองสำหรับโปรยในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เปรียบเสมือนเทพทรงโปรยดอกไม้สวรรค์ให้มวลมนุษย์ได้ชื่นชม
เป็นไม้มงคลที่ใช้ทำตั่งอัฐทิศในพระราชพิธีตั้งน้ำวงด้าย พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ มีพระบวรเศวตฉัตรปักและมีตั่งอัฐทิศทำด้วยไม้ไผ่สีสุกพันผ้าขาวปูผ้าขาว ตั้งเทวรูปอธิไทโพธิบาต และเทวรูปนพเคราะห์ประจำทิศ มีเต้าน้ำศิลาพระถ้วยศิลาจารึกอักษรคลุมตาดและกลดสังข์ของพราหมณ์ มีเครื่องนมัสการถ้วยแก้วเชิงจัดดอกไม้สดสีตามเทวดานพเคราะห์ และมีเทียนทองเงินทิศละคู่ทั้ง 8 ทิศ เทวรูปพระเกตุตั้งอยู่เหนือตั่งไม้สีสุก
ต้นมะเดื่ออุทุมพร หรือบางที่เรียกว่ามะเดื่อชุมพร คติความเชื่อของพราหมณ์มีว่าไม้มะเดื่อเป็นที่ประทับของเทพเจ้าตรีมูรติ หรือภาคที่รวมพระศิวะ
พระพรหม พระวิษณุเข้าด้วยกัน และด้วยเหตุที่ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ จึงใช้ไม้มะเดื่อทำเป็นพระที่นั่งที่ประทับในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ในตำนานพระพุทธศาสนา เชื่อว่า ต้นมะเดื่อเป็นต้นไม้ที่พระโกนาคมพุทธเจ้าประทับระหว่างตรัสรู้
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ไม้มะเดื่อใช้สร้างเป็นตั่งไม้สำหรับประทับรับน้ำพระพุทธมนต์ในพระราชพิธีสรงน้ำพระพุทธมนต์มุรธาภิเษก และสร้างพระที่นั่งทรงแปดเหลี่ยม
ชื่อว่า พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ สำหรับประทับรับน้ำเทพมนตร์จากพระมหาราชครูพราหมณ์ มีเทพยดาประจำทิศทั้งแปดรักษาคือ พระอินทร์ พระยม พระไพศรพณ์ พระวรุณ
พระอีสาณ พระอัคนี พระนิรฤติ และพระพาย
เป็นไม้มงคลที่ใช้สร้างธารพระกร หนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ข้างนอกหุ้มทองคำตลอด ปลายและซ่นเป็นเหล็กร่ำทอง มีซ่นเป็นรูปซ่อมสามขา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระมหาราชครูวามเทพมุนีถวายแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว