รื่นเริงเถลิงศกไทยโบราณ


สมัยโบราณ วันปีใหม่ของไทยตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำเดือนอ้าย เพื่อให้สอดคล้องกับคติทางพระพุทธศาสนา เป็นช่วงฤดูหนาว สรรพสิ่งสดใส อากาศไม่ร้อน แต่ต่อมา วันปีใหม่ถูกเปลี่ยนไปตามคติพราหมณ์ คือ วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันปีใหม่ ตรงกับเทศกาลสงกรานต์ ในปี 2432 วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันทางสุริยคติคือ 1 เมษายน ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของทุกปีนับแต่นั้นเป็นต้นมา จนกรทั่ง ปี 2484 รัฐบาลจอมพล ป. พิลูลสงครามก็ได้ประกาศให้วันขึ้นปีใหม่ไทยเปลี่ยนไปตามแบบสากลคือ วันที่ 1 มกราคม

About
About

About
About

ในเทศกาลปีใหม่ของไทยจากโบราณมาถึงปัจจุบัน คติความเชื่อที่คนไทยยึดถือคือ ปีใหม่ เป็นเวลาที่จะเกิดสิ่งใหม่ๆ สิ่งดี จึงต้องเตรียมตัวต้อนรับ ทำความสะอาดปัดกวาดบ้านเรือน ทำบุญตักบาตรเป็นสิริมงคล ความสนุกสนานของเทศกาลปีใหม่ในช่วงที่ตรงกับสงกรานต์ของโบราณ ปรากฎในวรรณกรรม เช่น นิราศเดือน แต่งโดยนายมี พรรณาการแต่งกายสาวๆ ในช่วงเทศกาลไว้ว่า

“ล้วนแต่งตัวเต็มงามทรามสวาท
ใส่สีฉาดฟุ้งเฟื่องด้วยเครื่องหอม
สงกรานต์ทีตรุษทีไม่มีมอม
ประดับพร้อมแหวนเพชรเม็ดมุกดา
มีเท่าไหร่ใส่เท่านั้นฉันผู้หญิง
ดูเพริศพริ้งเพราเอกเหมือนเมขลา
รามสูรเดินดินสิ้นศักดา
เที่ยวไขว่คว้าบางทีก็มีเชิง”


ผู้คนแต่งกายประชันความสวยงามกัน ไปวัดถวายน้ำสรง กลิ่นน้ำอบน้ำปรุงจรุงใจ อย่างไรก็ตามเรื่องสนุกที่ขาดไม่ได้คือ การพนันขันต่อ เล่นถั่วเล่นไพ่ บางทีเสียพนันหมดตัวต้องขายผ้านุ่งหาเงิน

งานหลวงในพระบรมมหาราชวัง


ก็มีพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล หรือที่เรียกว่าพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา บรรดาข้าราชการแต่งกายเต็มยศ ไปเฝ้าฯ ที่วัดพระแก้ว ดื่มน้ำที่ชำระพระแสงแล้วกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญญาณแสดงความจกรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดิน งานหลวงอีกพิธีหนึ่งคือ พิธีคเชนรัศวสนาน อาบน้ำช้างม้าเป็นการจัดขบวนช้างม้าสวนสนามแสดงพลกำลัง นอกจากนี้สมัยรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดเลี้ยงโต๊ะอย่างฝรั่งในงานปีใหม่ ซึ่งเชิญเจ้านาย พ่อค้า ข้าราชการ ชาวต่างประเทศมาร่วมงานเลี้ยงพระราชทาน





กรุงเทพฯ จัดงานใหญ่ที่สนามหลวง



เริ่มตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม การเดินทางในยุครัชกาลที่ 7 มีทั้งรถราง รถเจ๊ก รถยนต์ ชาวบ้านที่มาร่วมงานสนุกสนานในบรรยากาศออกร้านขายของ มีของเล่น ของใช้ เช่น ตุ๊กตาชาววังนอนในหอยตลับ ชุดหม้อข้าวหม้อแกง ปิ่นโตเถาเล็ก พัดขนนก ของกินต่างๆ เช่นหอยทอด หมูสะเต๊ะ ถั่วลิสงคั่ว อ้อยควั่นอบควันเทียน ข้าโพดปิ้ง ข้าวโพดคั่วน้ำขวดที่มีขาย คือ น้ำมะเน็ด น้ำเปล่าไม่มีขาย แต่น้ำประปายุคนั้นดื่มได้ ชาวบ้านอาศัยดื่มน้ำจากอนุสาวรีย์แม่พระธรณีบีบมวยผม

Team Member


Team Member


การแสดงมหรสพในยุคนั้น มีโขน ลิเก หุ่นกระบอก ลำตัด หนังกลางแปลง ตอนดึกวันที่ 31 มีนาคม มีการจุดพลุ ไฟพะเนียง ดอกไม้ไฟ สว่างไสวทั่วท้องสนามหลวงแสดงสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนศักราชใกม่ พร้อมกับเสียเพลง “เถลิงศก”

วันที่หนึ่งเมษายน ตั้งต้นปีใหม่ และแสงตะวันแจ่มใสใสสว่างแจ่มจ้า
เสียงระฆัง เหง่งหง่างก้อง ร้องทักทายมา ไตรรงค์ร่า ระเริงปลิว พลิ้วพลิ้วเล่นลม
ยิ้มเถิด ยิ้มเถิดนะยิ้ม ยิ้มแย้มแจ่มใส สุขสำราญบานใจ ขอให้สวัสดีฯ
ยิ้มเถิด ยิ้มเถิดนะยิ้ม ยิ้มแย้มแจ่มใส สุขสำราญบานใจ ขอให้สวัสดีฯ
มองทางไหน มีชีวิต จิตใจทั้งนั้น ต้อนรับวัน ปีใหม่เริ่ม ประเดิมปฐม
มาเถิดหนา พวกเรามา มาปล่อยอารมณ์ มาชื่นชม ยินดี ขึ้นปีใหม่แล้ว
ยิ้มเถิด ยิ้มเถิดนะยิ้ม ยิ้มแย้มแจ่มใส สุขสำราญบานใจ ขอให้สวัสดีฯ
ยิ้มเถิด ยิ้มเถิดนะยิ้ม ยิ้มแย้มแจ่มใส สุขสำราญบานใจ ขอให้สวัสดีฯ
สิ่งใดแล้ว ให้แล้วไป ไม่ต้องนำพา สิ่งผิดมา ให้อภัย
ให้ใจผ่องแผ้ว สิ่งร้าวราน ประสานใหม่ ให้หายเป็นแนว
สิ่งสอดแคล้ว มาสอดคล้อง ให้ต้องตามกัน
ยิ้มเถิด ยิ้มเถิดนะยิ้ม ยิ้มแย้มแจ่มใส สุขสำราญบานใจ ขอให้สวัสดีฯ
ยิ้มเถิด ยิ้มเถิดนะยิ้ม ยิ้มแย้มแจ่มใส สุขสำราญบานใจ ขอให้สวัสดีฯ
มาชื่นชม แสดงยินดี ในวันปีใหม่ มาทำใจ ให้ชื่นบาน ร่วมสมานฉันท์
มาเล่นหัว ให้เบิกบาน สำราญใจครัน
มารับขวัญปีใหม่ไทย อวยชัยชโย
ยิ้มเถิด ยิ้มเถิดนะยิ้ม ยิ้มแย้มแจ่มใส สุขสำราญบานใจ ขอให้สวัสดีฯ
ยิ้มเถิด ยิ้มเถิดนะยิ้ม ยิ้มแย้มแจ่มใส สุขสำราญบานใจ ขอให้สวัสดีฯ