พระราชอิสริยยศวงศ์จักรี

เครื่องประกอบราชอิสริยยศ คือ สิ่งของที่แสดงพระเกียรติยศและพระราชสถานะความเป็นพระมหากษัตริย์ซึ่งต้องมีการอัญเชิญไปด้วยทุกครั้งที่เสด็จไปทรงปฏิบัติพระราชภารกิจต่างๆ ตามความเหมาะสม พระราชพิธีที่มีการอัญเชิญเครื่องราชอิสริยยศอย่างสมบูรณ์ตามแบบโบราณราชประเพณีมากที่สุดคือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ มีหลายประเภท เช่น เครื่องสูง เครื่องราชศาสตรา เครื่องราชูปโภค เครื่องราชศิราภรณ์ ทำด้วยโลหะมีค่า คือ ทอง เงิน และนาก มีการประดับตกแต่ง แกะสลักลวดลายอย่างวิจิตรบรรจงสมพระเกียรติยศ การตกแต่งเครื่องประกอบราชอิสริยยศ นอกจากใช้โลหะที่ทรงคุณค่าแล้ว ยังตกแต่งประดับด้วยรัตนชาติหรืออัญมณีมงคลที่งดงามทรงคุณค่ามหาศาล

...
ภาพจิตรกรรมเทวดาทรงเครื่องอาภรณ์ประดับ
...
พระคชาธารทองคำสมัยอยุธยา
...
พระแสงอัษฎาวุธ

มณีมงคล

...
ตำรานพรัตน์
...
อัญมณีนพเก้า

ตามตำราโบราณของชาวตะวันออก ในคัมภีร์พระบาลีพุทธศาสตร์ มณีมงคล คือแก้วเก้าประการ คือ แก้ววิเชียร แก้วแดง แก้วอินทนิล แก้วเวฬุรีย์ แก้วรัตกาลมิศก แก้วโอทาตปีตมิศก นีลรัตนะ แก้วบุษราคัม แก้วมุกดาหาร ในตำราไสยศาสตร์ เรียกแก้วเหล่านี้ตามลำดับดังนี้คือ เพชร (แก้ววิเชียร) มีสีงามบริสุทธิ์ดุจดังน้ำใส เป็นประถมรัตนะแห่งมณีเก้าประการ ปัทมราช (แก้วแดง) มีพรรณแดงงามสดใส ถ้าสีแดงอ่อนเหมือนเมล็ดทับทิมสุกเรียกว่า ทับทิม แก้วมรกต (แก้วอินทนิล) สีเขียวเลื่อมประภัสสรเหมือสีปีกแมลงทับ แก้วไพฑูรย์ (เวฬุรีย์) มีสีเหลืองเลื่อมพรายเหมือนพรรณบุบผชาติ แก้วโกเมน (รัตกาลมิศก) มีสีแดงเจือดำงามสดใส แก้วเพทาย (โอทาตปีตมิศก) มีสีขาวเจือเหลือง แก้วนีล (นีลรัตนะ) หรือไพลิน มีสีเหมือนดอกอัญชันและดอกสามหาว (ผักตบชวา) แก้วบุษราคัม สีเหลืองเลื่อมประภัสสรดังวงแววสีหางปลาสลาด แก้วมุกดาหาร มีสีดังมุกเลื่อมพราย แก้วทั้งหมดนี้ เป็นมงคลนพรัตน์ที่พราหมณ์ใช้ประดับเรือนแหวนมาแต่โบราณกาล

คติชนโบราณ

งามตระการราชอาภรณ์

อัญมณีล้ำค่าถูกนำมาประดับเครื่องราชาภรณ์ของผู้ปกครองราชอาณาจักรนับตั้งแต่โบราณกาลเช่นกัน การประดับอัญมณีแสดงถึงพระเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ไพศาลของผู้ปกครองดินแดนนั้นๆ เช่น เพชร สุดยอดรัตนชาติอันสูงค่าและมีความแข็งแกร่งงดงาม มักจะถูกแสวงหาเพื่อนำมาประดับบนสัญลักษณ์ของผู้ปกครองและคู่สมรสในระบอบกษัตริย์ คือ มงกุฎ อัญมณีแห่งพระราชวงศ์จักรี มีความงดงามไม่แพ้ชาติใดในโลก ด้วยศิลปะการประดับอย่างวิจิตรตระการตา

มงคลคู่พระบวรจักรีวงศ์

author
เพชรยอดมงกุฎ
author
ฉลองพระบาท
author
พระธำมรงค์วิเชียรจินดา

เครื่องราชอิสริยยศที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้หลายหมววด แต่ละหมวดมีหลายชนิด มีหลายชนิด เช่น หมวดเครื่องมุรธาภิเษก ได้แก่ พระเต้า พระมหาสังข์ หมวดเครื่องต้น อัญมณีประดับเครื่องราชอิสริยยศ คือ มณีมงคลทั้งเก้าประการ ที่ถูกเลือกสรรมาอย่างดีว่างามล้ำคุณค่า ถูกประดับบนเครื่องราชอิสริยยศหลากหลาย พระมหาพิชัยมงกฎ ทำด้วยทองคำลงยาสีเขียวแดงประดับเพชรซีก ส่วนยอดพระมหาพิชัยมงกฎเป็นเพชรน้ำหนัก 40 กะรัต ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้เชี่ยวชาญการดูเพชร คือ พระราชสมบัติ ไปซื้อจากประเทศอินเดียมาเจียรไนประดับยอดพระมหาพิชัยมงกุฎ พระราชทานชื่อว่าพระมหาวิเชียรมณี ฉลองพระบาทเชิงงอน ทำด้วยทองคำลงยาฝังบุษราคัมสีเหลืองอ่อน ที่เรียกว่าบุศย์น้ำเพชร พระธำมรงค์รัตนวราวุธ เป็นเครื่องราชูปโภคสำหรับพระมหากษัตริย์ ทำด้วยทองคำ ฝังเพชรขนาดใหญ่ ขนาดประมาณ 60 กะรัตและพลอยนพเก้า ด้านข้างเป็นรูปพระมหาสังข์และตรี พระธำมรงค์วิเชียรจินดา ทำด้วยทองคำลงยา วงขอบในลงยาประดับเพชร รอบวง มีดอกไม้ประดับเพชรติดที่ก้านข้างละ 1 ดอก มีมงคลเพชร 2 ชั้น กลางยอดฝังเพชรวิเชียรจินดา 30 กะรัต ขนาด 1.6 x 2.0 เซนติเมตร พระสังวาลนพรัตน์ เป็นสังวาลแฝดทำด้วยทองคำประดับดอกจอกเก้ากลีบ ฝังอัญมณีเก้าชนิด กลีบละชนิด รวมทั้งสาย 36 ดอก ดาราไอราพต เป็นเครื่องหมายแสงพระเกียรติยศ ประดับเบื้องซ้ายที่พระอุระ ทำด้วยหินโมรารูปวงรีกว้าง 4.4 เซนติเมตร สูง 5.5 เซนติเมตร ภายในเป็นรูปช้างไอราพตสามเศียร เบื้องบนเป็นมณฑปประดิษฐานพระมหาอุณาโลมประกอบด้วยฉัตร เครื่องสูงและลายกนก มีรัศมี12แฉก ดารานพรัตน์ เป็นรูปดาราแปดแฉก ประดับมณีนพเก้า สร้างคู่กับดวงตราสลักโปร่งเป็นอักษรนพรัตนราชวราภรณ์มีรูปช้างอยู่ข้างล่างสำหรับแขวนกับสายสะพาย ใช้ประดับเบื้องซ้ายของฉลองพระองค์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ประกอบด้วยสายสะพายห้อยดวงตรามหานพรัตน์ แหวนนพรัตน์ลงยาราชาวดี และเครื่องหมายสำหรับประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ยังมีเครื่องบรมราชภูษิตาภรณ์ที่ใช้สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอื่นๆ เช่น พระปั้นเหน่ง พระธำมรงค์นพรัตน์ เป็นต้น