banner
ความหมายและความสำคัญ

       ในวิชาบรรณารักษศาสตร์ ป้ายบรรณสิทธิ์ หรือ Bookplate คือ ป้ายหรือตราที่มีทั้งรูปแบบและลวดลายต่างๆ ซึ่งติดไว้ด้านหลังของปกหน้า (front cover) หรือที่ใบรองปก (file leave) ของหนังสือ เพื่อระบุว่า ผู้ใดหรือห้องสมุดใดเป็นเจ้าของ เพื่อพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ ผู้ริเริ่มใช้ป้ายบรรณสิทธิ์ในประเทศไทย คือพระบรมวงศานุวงศ์ผู้เคยไปศึกษาต่อต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 และสนพระทัยรวบรวมหนังสือ ป้ายบรรณสิทธิ์เป็นศิลปวัตถุอย่างหนึ่งที่มีคุณค่าในแง่วงศ์วานวิทยา สะท้อนเรื่องราวของตระกูลต่างๆ ยุคสมัย อาชีพ ภูมิลำเนา ฐานะความเป็นอยู่


P1-Pic01

ป้ายบรรณสิทธิ์แบบต่าง ๆ

หนังสือส่วนพระองค์

       หนังสือส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูหัว ประกอบด้วยเนื้อหาหลายสาขาวิชา เช่น ปรัชญา ศาสนา ภาษา วรรณคดี เกษตร เป็นต้น ลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งคือ มีป้ายบรรณสิทธิ์ หรือ Bookplate แสดงความเป็นหนังสือส่วนพระองค์


P05

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
P06

ตู้หนังสือส่วนพระองค์


ปาฐกถาเสาหลักของแผ่นดิน เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการอ่าน
http://www.youtube.com/watch?v=U5UnY_Qdrpo&app=desktop

ลักษณะป้ายบรรณสิทธิ์ในหนังสือส่วนพระองค์  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ป้ายบรรณสิทธิ์มีหลายแบบ คือ
      1. ป้ายรูปตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
      2. ป้ายรูปตราห้องสมุดพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
      3. ป้ายรูปตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
      4. ป้ายแสดงความเป็นหนังสือส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว



P3-1

ตราประจำรัชกาลที่ 5
P3-2

ตราประจำรัชกาลที่ 6

ป้ายหนังสือส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

      1. ป้ายตราพระปรมาภิไธย ปปร. แสดงความเป็นพระมหากษัตริย์และข้อความ ภาษาบาลีซึ่งมีความหมายว่า ปัญญาย่อมเกิดขึ้นเพราะประกอบ เสื่อมไปเพราะไม่ประกอบ

      2. ป้ายพระนามย่อ ปศ มาจากพระนามว่าประชาธิปกศักดิเดชน์ พิมพ์เป็นรูปงูขดตัวพันกันตามปีมะเส็งซึ่งเป็นปีที่ทรงพระราชสมภพ ตรงกลางมีบทกวีภาษาอังกฤษ เรื่อง A nook and a book ประพันธ์โดยวิลเลียม ฟรีแลนด์ กวีชาวสก๊อตแลนด์ ด้านล่างมีคำว่า Prince of Sukhodaya


P4-1

ตราประจำรัชกาลที่ 7

P4-2

ป้ายบรรณสิทธิ์หนังสือ
รัชกาลที่ 7 แบบมีบทกวี

บรรณานุกรม

ศิริน โรจนสโรช. พระมหากษัตริย์ผู้โปรดการอ่านหนังสือ ในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2556). 120 ปี ผ่านฟ้า
       ประชาธิปก (น.204-223). นนทบุรี :สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.


P06

ตู้หนังสือส่วนพระองค์

P07 P08 P09 P10 P06 P05 P05