• โคชินไชน่า
  • ตลาดท่าเตียน
  • วัดญวนนางเลิ้ง
  • ตลาดญวนสามเสน
  • เกี่ยวกับนิทรรศการ
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกโดยชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าคนญวนเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยบันทึกไว้ว่า
P02 "…พ.ศ.2205 คณะบาทหลวงฝรั่งเศสนำโดยพระสังฆราชแห่งเบริธบิชอบ เดอ ลา มอธ ลอมแบร์ (MZGR, DE LA MOTHE LAMBERT EVEQUE DE BERYTHE) ได้เลือกเอากรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางเผยแพร่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก และในการเดินทางเข้ามายังประเทศไทยคณะบาทหลวงได้ขนเอาคนญวนติดตามเข้ามาด้วยเป็นจำนวนมาก เพราะคนญวนเป็นคนพื้นเมืองที่นับถือศาสนาคริสต์..."
และจากบันทึกที่คณะทูตชาวฝรั่งเศสชุดที่ 2 ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 นำโดยท่านทูตซีโมน เดอ ลา ลูแบร์  ที่เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2230 ได้บันทึกเกี่ยวกับชาวโคชินไชน่า (ชื่อที่ฝรั่งเศสใช้เรียนคนญวน  แต่คนญวนแท้ๆ เรียกตัวเองว่า เวียต)  รุ่นแรกที่เข้ามาในประเทศไทยสมัยอยุธยาว่า เข้ามาทั้งทางเรือและทางบกคือทางจังหวัดจันทบุรีแล้วเดินเท้าต่อเข้ามากรุงศรีอยุธยา อีกกลุ่มหนึ่งเดินเท้าขึ้นไปทางประเทศลาวแล้วเข้ามาในประเทศไทยที่จังหวัดพิษณุโลกและกรุงศรีอยุธยา จนได้มาพบกับคณะของบาทหลวงชาวฝรั่งเศสและรวมตัวกันเป็นกลุ่มตั้งเป็นชุมชนมอญบริเวณโบสถ์เซนต์โยเซฟ พระนครศรีอยุธยา  และเกิดมีตลาดมอญขึ้นบริเวณโบสถ์
 
ตลาดญวนในสมัยนั้นจึงอยู่บริเวณรอบๆ โบสถ์เซนต์โยเซฟ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งทิศใต้ใกล้ๆ ป้อมเพชร ถือเป็นตลาดญวนแห่งแรกของไทยเกิดขึ้นในสมัยอยุธยา คนญวนบริเวณนี้เรียกตัวเองว่า บ้านญวน
 
P03


ตลาดท่าเตียนมีชื่อมาจากภาษาญวนว่า ฮาเตียน เป็นตลาดญวนที่คนไทยรู้จักมากที่สุด  ฮาเตียนเป็นชื่อเมืองในประเทศเวียดนามคือ เมืองฮาเตียน แต่เดิมคือเมืองทายมาศ  โดยในปี พ.ศ. 2316 เมืองญวนเกิดกบฏที่เมืองเว้  บรรดาเชื้อพระวงศ์ญวนถูกฆ่าตาย  องเชียงชุน  ราชบุตรองค์ที่ 4 ของจักรพรรดิญวน ได้หลบหนีมาอยู่ที่เมืองบันทายมาศ ต่อมาเรียกว่า เมืองฮาเตียน จากนั้นได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยธนบุรี  และได้รับพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกกำแพงพระนครฝั่งตะวันออก ซึ่งก็คือบริเวณท่าเตียนถึงพาหุรัด บริเวณที่คนญวนอยู่จึงเรียกว่า ฮาเตียน เพราะเป็นคนญวนที่อพยพมาจากเมืองฮาเตียน คนไทยเพี้ยนเป็น ท่าเตียน วัดญวนแห่งแรกอยู่ที่บ้านหม้อพาหุรัด เรียกกันว่า บ้าญวนพาหุรัด บริเวณนี้จึงถือเป็นตลาดญวนแห่งที่สองของไทย


พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงแบ่งคนญวนในสมัยนั้นออกเป็น 2 พวก คือ ญวนเข้ารีต และ ญวนพุทธ 

ญวนเข้ารีต เป็นคนญวนที่นับถือศาสนาคริสต์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานที่ดินให้อยู่บริเวณวัดญวนสามเสน ซึ่งมีโบสถ์คอนเซ็ปชัญซึ่งเป็นโบสถ์คริสต์ศาสนาของชาวฝรั่งเศสที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายอยู่ในชุมชน

P04 ญวนพุทธ คือคนญวนที่นับถือศาสนาพุทธ โปรดเกล้าฯ ที่ดินบริเวณบางโพให้เป็นที่อยู่อาศัย
P05
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องเชียงสือ หรือ เหงียนฟุกอันท์ เจ้าเมืองไซง่อน ได้ลี้ภัยเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารและได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ไปอยู่ที่ใต้บ้านต้นสำโรง ตำบลคอกกระบือ ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือบริเวณปากคลองผดุงกรุงเกษม มีการสร้างวัดญวนนางเลิ้ง หรือ วัดญวนสะพานขาว ในชุมชน ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปอยู่ที่ตำบลบางโพ มีวัดญวนบางโพ หรือวัดอนัมนิกายาราม เป็นศูนย์กลางของชุมชน จึงทำให้ปัจจุบันไม่มีคนญวนอาศัยอยู่บริเวณคอกกระบือแล้ว เหลือเพียงวัดญวนนางเลิ้งเท่านั้น
P06 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเกิดสงครามไทยญวนขึ้น  มีเชลยคนญวนเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีนโยบายในการจัดที่อยู่อาศัยให้แก่ชาวญวน  ให้แยกกันอยู่โดยถือหลักสองประการคือ แยกกันอยู่ตามศาสนาที่นับถือและแยกกันอยู่ตามสาเหตุที่อพยพเข้ามา ชาวญวนที่นับถือศาสนาคริสต์และติดตามกองทัพไทยเข้ามา ให้ไปอยู่รวมกับชาวเขมร คนเชื้อสายโปรตุเกส  และคนญวนที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งอยู่มาก่อนที่ตำบลสามเสน และเรียกคนญวนเหล่านี้ว่า ญวนสวามิภักดิ์ ทำให้บริเวณชุมชนญวนสามเสนกลายเป็นชุมชนญวนขนาดใหญ่ และเกิดตลาดญวนที่ใหญ่ที่สุดและเป็นที่รู้จักกันดีตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน คือ ตลาดญวนสามเสน  ส่วนชาวญวนที่นับถือศาสนาพุทธนั้นโปรดเกล้าฯ ให้ไปอยู่ที่ตำบลบางโพ รวมกับชาวญวนพุทธเก่าที่เข้ามาตั้งแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ปัจจุบันสิ่งที่ยังหลงเหลือเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนญวนสามเสนให้เห็นคืออาหารเช้าที่เป็นสูตรเฉพาะของชาวญวนที่สืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษชาวญวน เช่น ปริมญวน บัวลอยญวน ตลาดเช้าเป็นวิถีชีวิตที่เล่าเรื่องราวของอดีตต่างๆ ได้มากมาย แม้ลูกหลานญวนจะใช้ชีวิตกลมกลืน แต่อาหารการกินก็ยังเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่บ่งบอกรากเหง้าที่มาของบรรพบุรุษชาวญวนได้อย่างดี
P07
P08
จาก"ตลาดบ้านแขก"จนถึง"สามแยกถนนตานี"  เว็บไซต์ : http://www.southdeepoutlook.com
       /brief/66901#.VWVEc3mJg5t

ตลาดไทย เว็บไซต์ : http://guru.sanook.com/984/

แม่ช้อย  นางรำ  เล่าเรื่องตลาดสยาม (ตอนที่ 7) ตลาดแขก  The art of Siam ฉบับที่ 37

เปิดประตูสู่อาเซียน : ชุมชนญวนสามเสน ช่อง 9 อสมท  30 กันยายน 2557



P09


P02 P03 P04 P05 P06 P07 P08 P09