จดหมายเหตุบอกเล่า เรื่อง "ชื่อมหาลัยวิทยาลัย"
คณะกรรมการวางพื้นฐานเพื่อการปฏิรูปการศึกษาได้รับความเห็นชอบจากทบวงมหาวิทยาลัย
ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิด ดังนั้นเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2519 ทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้แต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาและ จัดทำโครงการมหาวิทยาลัยเปิด โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร
ศรีสอ้านเป็นประธาน ในขั้นตอนการศึกษา และ จัดทำโครงการนั้น คณะอนุกรรมการได้พิจารณา
เรื่อง การตั้ง ชื่อมหาวิทยาลัยที่จะเปิดใหม่โดยได้เสนอชื่อ 3 ชื่อ ได้แก่ “มหาวิทยาลัยประชาธิปก”
“มหาวิทยาลัยโทรศึกษา”และ“มหาวิทยาลัยวิชญากร”ต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อคราวประชุมในเดือนมีนาคม
พ.ศ.2521 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบให้ขอพระราชทานชื่อ“มหาวิทยาลัยประชาธิปก”ซึ่งเป็นพระ
นามในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยมีเหตุผลคือ ประเทศไทยเริ่มมี การปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 7 และมหาวิทยาลัยแห่งนี้มีหลักปรัชญาเกี่ยวกับประชาธิปไตยทางการ
ศึกษาโดยขยายโอกาสและให้ความเสมอภาคการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแก่ทุกชนชั้นอย่างกว้างขวาง
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานชื่อมหาวิทยาลัยว่า “สุโขทัยธรรมาธิราช” ตามพระนามเดิมในพระบาทสมเด็จพระปก
เกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น “กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา”และทรงลงพระปร
มาภิไธยในพระพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2521
ซึ่งมหาวิทยาลัยถือเป็นวันมิ่งมงคลและ เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในปี
พ.ศ.2551นี้มหาวิทยาลัยมีอายุครบ 30ปีพอดี
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่หน่วยจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย ฝ่ายบริการสนเทศ
สำนักงานบรรณสารสนเทศ อาคารวิชาการ 1 ชั้น 3 โทร. 7467-8
ที่มา : 1. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 10 ปี มสธ. นนทบุรี โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2531
2. หนังสือสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล 0002/6399 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2521 เรื่อง “พระราชทานชื่อ
มหาวิทยาลัยที่จะเปิดใหม่ว่า สุโขทัยธรรมาธิราช” ถึง รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย |