มสธ. ห้องสมุด หน้าหลัก
 

 

 

จดหมายเหตุบอกเล่า
เรื่อง ประชุมร่วมสภามหาวิทยาลัย นวัตกรรมอุดมศึกษาไทย

                                                                                                      นางสาววราภรณ์  ยงบรรทม*
           สภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรสูงสุดของมหาวิทยาลัยและเป็นสถาบันถาวรของสังคมที่ต้องอยู่
คู่ประเทศชาติไปตลอดกาลมีหน้าที่กำหนดและกำกับนโยบายูแลการบริหารจัดการให้เกิดการปฏิบัติที่มีี
ประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล เป็นไปตามระบบคุณธรรม โปร่งใสและตรวจสอบได้  ฉะนั้นจึงจำเป็น
ต้องมีการปรับเปลี่ยนสภามหาวิทยาลัยให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและกระแสโลกโดยมี       
การตั้งสำนักงาน สภามหาวิทยาลัยของแต่ละมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการประชุมร่วมสภา    
มหาวิทยาลัย 3 สถาบันคือ  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี   และ  
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยความเห็นชอบของศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน นายกสภามหา      
วิทยาลัยทั้ง 3 แห่ง จึงริเริ่มให้มีการจัดประชุมร่วมประจำปี 3 สภามหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการปฏิรูป      
สภามหาวิทยาลัย การประชุมครั้งแรก จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13-14 พฤษภาคม 2553 ณ จังหวัดนครปฐม   
โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นเจ้าภาพซึ่งถือเป็นการประชุมร่วม 3 สภามหาวิทยาลัยครั้งแรก
ของประเทศไทย
ครั้งที่ 2 จัดประชุมเมื่อวันที่ 19-20 พฤษภาคม 2554 ณ จังหวัดเพชรบุรี โดยมี    
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นเจ้าภาพ  
ครั้งที่ 3 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17-18 พฤษภาคม 2555   ณ
จังหวัดนนทบุรี
 เป็นการประชุมร่วม 4 สภามหาวิทยาลัย  เนื่องจากสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีได้
สมัครเข้าร่วมประชุมด้วย โดยมีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นเจ้าภาพและการประชุมครั้งที่ 4 ในปี2556
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ การประชุมร่วมสภามหาวิทยาลัยได้มีการเปิดโอกาส
ให้นายกสภามหาวิทยาลัย หรือกรรมการสภามหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนเข้าร่วมประชุมในฐานะเป็น
ผู้สังเกตการณ์อีกด้วยอาทิ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลสุวรรณภูมิ   มหาวิทยาลัยทองสุขและสถาบันคลังสมองของชาติ                                   


               จากการประชุมร่วมสภามหาวิทยาลัยได้ข้อสรุปที่เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยที่เห็นได้ชัดเจน
และนำมาสู่การปฏิบัติ  อาทิ การมีส่วนร่วมของข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยในกระบวนการ    
สรรหานายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน 
เรียนรู้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะระหว่างกรรมการสภามหาวิทยาลัยในวงกว้างมากยิ่งขึ้น  มีการสร้าง     
เครือข่ายและใช้ทรัพยากรร่วมกัน มีการเชื่อมโยงความเชี่ยวชาญเพื่อทำประโยชน์ร่วมกันและผลักดัน
ให้เกิดผลงานในรูปแบบต่างๆ ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับข้อเสนอแนะ
ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน
การถ่ายทอดนโยบายของสภาไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีการติดตามตรวจสอบและ   
ประเมินผลงานของมหาวิทยาลัยอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ                                                   



..............................


 

 

« Next »