index
          “....การทำนาเกลือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่กำลังเป็นปัญหาด้วยการปล่อยน้ำเค็มลงไร่นาและแหล่งน้ำจนราษฎรปลูกพืชผักไม่ได้นั้น หากจะพิจารณาจัดพื้นที่ที่เหมาะสม และทำร่องน้ำสำหรับปล่อยน้ำเค็มให้ระบายลงไปรวมอยู่ในที่เดียวกัน ซึ่งที่นั้นจะต้องทำเป็นบึงหรือสระขนาดใหญ่พอเพียงที่จะเก็บน้ำเค็มที่ปล่อยออกไปจากนาเกลือนี้เป็นน้ำที่ตกตะกอนจากการทำนาเกลือมาแล้วดังนั้นความเค็มจึงมีไม่มากนัก
P08
จึงเป็นลักษณะน้ำกร่อยไปรวมอยู่ในบึงน้ำเค็ม ซึ่งเมื่อฝนตกมาผสมก็จะทำให้ความเค็มเจือจางลงไปอีก ซึ่งอาจหาพันธุ์ปลาหรืออาจจะเป็นกุ้งที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมไปเลี้ยงต่อไปได้อีกด้วย....”
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เกี่ยวกับแนวทางแก้ไขกรณีนาข้าวของราษฎรกลายเป็นดินเค็ม
เมื่อครั้งเสด็จแปรพระราชฐาน ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์
ระหว่างวันที่ 19-30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532

ดินเค็ม คือดินที่มีเกลืออยู่ในดินเป็นจำนวนมาก  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชทานแนวพระราชดำริให้ใช้ระบบชลประทานในการล้างเกลือที่ผิวดินให้เกลือเจือจางจนสามารถใช้สอยได้
โครงการต้นแบบสำหรับการแก้ปัญหาเรื่องดินเค็มนี้คือ โครงการแก้ไขปัญหาดินเค็มบริเวณห้วยบ่อแดง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร