เมฆะลูกกวาง

เมฆะลูกกวาง เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านของมอญ เป็นนิทานที่สอนให้เด็กเป็นคนดีมีคุณธรรม มีความกตัญญูรู้คุณของผู้มีคุณที่เลี้ยงมาให้เติบใหญ่ ให้วิชาความรู้ เป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันหน้า เมื่อทำดี ไม่ทำชั่ว ความดีจะตอบสนองให้ชีวิตมีความสุขความเจริญ แม้เมื่อมีทุกข์ภัยเกิดขึ้น อานุภาพของการทำดี การเป็นคนดีจะช่วยบรรเทา ขจัดความทุกข์ร้อนให้ประสบความสุขสงบได้

เรื่องเมฆะลูกกวางแต่งขึ้นโดยหมอคลายบ้านเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เกิดเมื่อ พ.ศ. 2358 เมื่อประมาณกว่า 170 ปีมาแล้ว แต่งเป็นภาษามอญ มีอยู่ที่วัดชมภูเวก จังหวัดนนทบุรีแห่งเดียว ศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ ในองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอ สปาฟา) ได้แปลเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ปัจจุบันทั้งคัมภีร์และหนังสือแปลมีจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ พื้นบ้านวัดชมภูเวก

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และได้ให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจัดประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมประจำจังหวัดและจัดทำข้อมูลรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 โดยนิทานพื้นบ้านมอญ “เมฆะลูกกวาง” เป็นหนึ่งของรายการมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมที่ได้รับการประกาศให้เป็นรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัดนนทบุรี

เมฆะลูกกวางฉบับแปลเป็นภาษาไทย

อ่าน