มสธ. ห้องสมุด หน้าหลัก
 

 

 

จดหมายเหตุบอกเล่า เรื่อง ที่ดิน มสธ.

                                                                                                      พัชรี ทองแขก*
             มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมักได้รับคำชมจากผู้มาเยือนเสมอว่าเป็นมหาวิทยาลัย
  ที่มีบรรยากาศร่มรื่น สงบ สะอาด ปลอดภัยในทำเลที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนที่มีการคมนาคม 
  สะดวกทั้งจากกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานีและจังหวัดใกล้เคียง  แต่มีใครรู้บ้างว่าความ 
  เป็นมาของทำเลที่ตั้งแห่งนี้เป็นอย่างไร                                                                                        
    
 

       ในระยะแรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชภารกิจสำคัญประการหนึ่งนอกจาก
 การสรรหาบุคลากร การเตรียมเปิดสอนและการพัฒนาหลักสูตร คือการแสวงหาที่ตั้งที่เหมาะ
 สมเนื่องจากมหาวิทยาลัยเปิดสอนในระบบทางไกลจึงจำเป็นต้องอยู่ใกล้แหล่งสื่อต่างๆ เช่น 
   ไปรษณีย์วิทยุโทรทัศน์หรือวิทยุกระจายเสียง ดังนั้นการเลือกที่ตั้งของมหาวิทยาลัยจึงควรอยู่
ในกรุงเทพฯ หรือชานเมืองไม่เกิน 50 กิโลเมตรจากศูนย์กลางกรุงเทพฯ คณะกรรมการจัดหา
สถานที่ตั้งของของมหาวิทยาลัยที่ประกอบด้วยอธิการบดี (ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน)
 เป็นประธาน ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมที่ดิน ผู้แทนกรมธนารักษ์ ผู้แทนกรมโยธาธิ
    การ ผู้แทนสำนักผังเมือง ผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา    
  ( รองศาสตราจารย์   ดร. ทองอินทร์  วงศ์โสธร )  เป็นกรรมการและรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร 
 ( ศาสตราจารย์ ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์ ) เป็นกรรมการและเลขานุการ ได้ดำเนินการหาที่ดิน
 ที่เหมาะสม  นายเชาว์ ภู่เจริญยศ เจ้าของหมู่บ้านบัวทองขาว ติดต่อขอบริจาคที่ดินในหมู่บ้าน
  เป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัย แต่ที่ดินค่อนข้างอยู่ไกล การคมนาคมไม่สะดวกและโอกาสจะขยายบริ
   เวณที่ทำการที่ทำการทำได้ยาก ทำให้มหาวิทยาลัยเกิดความคิดในเรื่องขอรับบริจาคที่ดินราย
 อื่น ๆ จนในที่สุดมหาวิทยาลัยเลือกที่ดินของ นายมงคล กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริ  
 ษัทบางกอกแลนด์จำกัด โดยการติดต่อของ นายพิชัย วาศนาส่ง จำนวน 30 ไร่ และในโอกาส
   ที่ดีนี้มหาวิทยาลัยจึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส นำนายมงคล กาญจพาสน์ เฝ้าฯ  
  ทูลเกล้าฯ ถวายโฉนดที่ดินเพื่อพระราชทานแก่มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2524 ณ  
  พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในโอกาสนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระ 
   บรมราโชวาทและมีพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า    “...การที่ตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยนี้ ถือว่า
   เป็นมหาวิทยาลัยสมัยใหม่ ที่จะให้ผู้มีความสามารถและมีความปรารถนาที่จะเรียน ศึกษาวิทยา
 การวิชาการ ก้าวหน้ากว้างขวางได้ เพราะว่าได้ชื่อว่าคนไทยก็มีความเฉลียวฉลาด ขาดแต่โอ 
กาศที่จะได้ขยายความรู้ขยาย
                                                                               

 

 

« Back  Next »