ความสามารถของตน คนฉลาดที่ได้แสดงแล้วว่าเมื่อมีโอกาสก็ไปเรียนในชั้นสูง จะเรียกได้ว่า
ทัดเทียมอารยะประเทศ ไม่แพ้คนอื่น อาจจะดีกว่าคนอื่นด้วยซ้ำ ฉะนั้นก็สมควรที่จะบริการให้
แก่ประชาชนคนไทยได้มีโอกาสที่จะเล่าเรียน...”
จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเห็นได้ว่าทรงเอาพระราชหฤทัย
ใส่ในการศึกษาของประชาชน โดยเฉพาะโอกาสทางการศึกษาเล่าเรียนให้ทัดเทียมกับประเทศ
อื่น ๆสมควรที่นักศึกษาของ มสธ.ทุกคนจะน้อมนำพระราชดำรัสมาใช้ขยายผลโดยเริ่มจากการ
ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มความสามารถให้สมดังพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวที่ทรงปรารถนาให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นสถานศึกษาที่ให้โอกาสแก่ประชาชนคนไทยได้
เล่าเรียนอย่างกว้างขวางและเสมอภาคตลอดไป
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่หน่วยจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย ฝ่ายบริการสนเทศ
สำนักบรรณสารสนเทศ อาคารวิชาการ 1 ชั้น 3 โทร. 0 2504 7467
____________________________________________________________________
*บรรณารักษ์ ระดับ 6 หน่วยจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย ฝ่ายบริการสนเทศ สำนักบรรณสารสนเทศ
บรรณานุกรม
1. พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัย-
ธรรมาธิราช นำนายมงคล กาญจนพาสน์ เฝ้า ฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายโฉนดที่ดิน เพื่อพระราชทาน แก่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน 2524
ในเอกสารการประชุมสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2/2525 วันที่ 14 พฤษภาคม 2525
2. วิจิตร ศรีสอ้าน “ปมประวัติ มสธ.” ใน 10 ปี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2521-2531
หน้า9-21 นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2531
|