#

การใช้ธงครั้งแรกของแผ่นดินสยาม

มองซิเออร์ บูโลเดลันด์ ชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศไทยในสมัยอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2223 ได้บันทึกไว้ว่า ประเทศไทยมีการใช้ธงครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นธงพื้นสีแดงไม่มีลวดลาย

“วันที่ 3 เดือนกันยายน พ.ศ. 2223 เรือชื่อเลอโวตูร์ได้มาถึงสันดอนสยาม เมื่อเรือจะผ่านป้อมที่บางกอก โปรดให้เรือยิงสลุตตามประเพณีของชาวยุโรป เจ้าเมือง (บางกอก) ซึ่งเป็นคนชาติ แขกเติกยิงสลุตตอบรับ ประการ 1 เป็นธรรมเนียมช้านานมาแล้วที่เรือต่างๆ ของเมืองนี้มักจะชักธงฮอลันดา (เนเธอแลนด์) เพราะเหตุว่าเป็นธงที่คนรู้จักกันมากกว่าเป็นเรือค้าขาย แลฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินสยาม จนทุกวันนี้หาได้มีธงอย่างใดเป็นเครื่องหมายไม่ เจ้าเมืองบางกอกไม่รู้ว่าจะชักธงอะไร จึงได้ชักธงฮอลันดาขึ้น ฝ่ายมองซิเออร์คอนูเอล กัปตันเรือได้ให้คนมาบอกแก่เจ้าเมืองว่า ถ้ามีความประสงค์จะให้สลุตป้อมแล้ว ก็ขอให้เอาธงฮอลันดาลงเสีย และถ้าไม่มีธงชาติอื่นจะชักแล้วก็ขอให้ชักธงอย่างใดอย่างหนึ่งก้ได้แล้วแต่จะพอใจ เจ้าเมืองบางกอกจึงได้เอาธงฮอลันดาลงเสีย แล้วชักธงสีแดงขึ้นแทน”

img

ธงพื้นแดง..ธงชาติไทยในอดีต

img
img
img

ธงพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นรูปจักร สมัยรัชกาลที่ 1

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ไทยใช้ธงสีแดงทั้งในเรือหลวงและเรือราษฎร ต่อมาทรงพระราชดำริว่า เรือหลวงกับเรือราษฎรควรมีเครื่องหมายให้เห็นแตกต่างกัน จึงมีพระบรมราชโองการให้นำรูปจักรสีขาวประดับไว้ตรงกลางของธงสีแดง เพื่อเป็นเครื่องหมายว่าเป็นเรือหลวง ส่วนเรือสินค้าและเรือราษฎรยังคงใช้ธงสีแดงเรียบๆ ไม่มีลวดลาย

Read More
img
img

ธงพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นรูปช้างเผือกอยู่กลางวงจักร สมัยรัชกาลที่ 2

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระองค์ทรงได้ช้างเผือกจำนวน 3 เชือก ซึ่งช้างเป็นสิ่งที่เป็นสิริมงคลและเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้เอารูปช้างเผือกมาไว้ตรงกลางวงจักร ใช้ประดับเฉพาะเรือหลวง ส่วนเรือสินค้าและเรือราษฎรยังคงใช้ธงสีแดงเหมือนเดิม

Read More
img
img

ธงพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นรูปช้างเผือกไม่ทรงเครื่องหันหน้าเข้าเสา สมัยรัชกาลที่ 4

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ไทยทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2398 มีประเทศต่างๆเข้ามาทำสัญญาพระราชไมตรีและการค้าเพิ่มมากขึ้น แต่ละประเทศมีธงประจำชาติของตนเอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ทรงมีพระราชดำริว่า ธงสีแดงที่เรือสินค้าและราษฎรใช้อยู่ซ้ำกับประเทศอื่น ยากแก่การสังเกตว่าเป็นชาติใด โปรดให้นำรูปจักรออก เพราะเป็นเครื่องหมายของพระเจ้าแผ่นดิน ธงชาติไทยในรัชสมัยนี้จึงมีลักษณะเป็นธงพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นรูปช้างเผือกไม่ทรงเครื่องหันหน้าเข้าเสา

Read More
img
img

ธงพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น หันหน้าเข้าเสา สมัยรัชกาลที่ 6

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงให้แก้ไขให้มีลักษณะเป็นธงพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น หันหน้าเข้าเสา ประกาศเริ่มบังคับใช้ 1 มกราคม 2459

แดง ขาว น้ำเงิน..ธงไตรรงค์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยมีพระราชดำริมาก่อนว่าอยากจะเปลี่ยนธงชาติให้เป็นแถบสี เพราะทรงประสบเหตุการณ์ด้วยพระองค์เองว่า ในยามรีบร้อนมีผู้ชักธงผิดให้รูปช้างกลับเอาขาชี้ขึ้น อีกทั้งราษฎรต้องสั่งซื้อธงผ้าพิมพ์รูปช้างจากต่างประเทศ ดังนั้น หากเปลี่ยนเป็นธงแถบสีจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ พระองค์จึงทรงเลือกสีที่มีความหมายถึงความสามัคคีและสง่างาม จึงทรงเลือกเป็นธงริ้ว สีแดงและขาว เป็นสีของธงชาติ และทรงทดลองใช้ที่สนามเสือป่า เพื่อฟังความคิดเห็น ธงชาติใหม่ของไทย เป็นที่สนใจของชาวต่างชาติที่อยู่ในเมืองไทย ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาบันทึกรายวันในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วันี่ 18 สิงหาคม 2460 ว่า

ได้ทรงอ่านความคิดเห็นของผู้ใช้นามแฝง “อะแควเรียส” ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯ เดลิเมล์ภาษาอังกฤษ ฉบับวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2460 อะแควเรียสได้ปรารภถึงธงชาติแบบใหม่ว่าเพื่อคนหนึ่งของอะแควเรียสและตัวอะแควเรียสเอง มีความเห็นว่าธงชาติแบบใหม่ (แถบขาวแดง) ยังมีลักษณะไม่สง่างามพอ อะแควเรียสเสนอแนะว่าริ้วตรงกลางควรจะเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ และถ้าเปลี่ยนตามนี้แล้วธงชาติไทยจะมีสีแดง ขาว น้ำเงิน เหมือนกับธงสามสีของฝรั่งเศส ธงยูเนียนแจ๊คของอังกฤษ และธงดาวของสหรัฐอเมริกา ประเทศพันธมิตรทั้งสามคงจะพอใจยิ่งขึ้น เพราะเท่ากับยกย่องเขา กับทั้งมีสีของพระมหากษัตริย์เป็นธงชาติย่อมเป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึงพระองค์ในวาระที่ประเทศไทยเข้าสู่เหตุการณ์สำคัญต่างๆ ด้วย” พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ร่างประกาศแก้แบบธงชาติ และตราพระราชบัญญัติตามมติที่ประชุมเสนาบดี เรียกว่า พระราชบัญัติธงพระพุทธศักราช 2460 ออกประกาศเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2460 ลักษณะธงชาติ คือ เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน มีแถบสีน้ำเงินแก่อยู่ตรงกลาง กว้าง 1 ใน 3 ส่วน เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมของความกว้างของธง มีแถบสีขาว 1 ใน 6 แล้วมีแถบแดงกว้างเท่ากับแถบความกว้างของธงข้างละแถบ และพระราชทานนามว่า ธงไตรรงค์

img
img