|
ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
และยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราชอยู่นั้น ทรงเริ่มมีความสนพระราชหฤทัยในดนตรี
แจ๊ซเป็นอย่างยิ่ง และโปรดการฟังแผ่นเสียงของนักดนตรีแจ๊ซชั้นนำหลายท่าน อาทิ
Louis Armstrong, Duke Ellington เป็นต้น และได้ทรงฟังเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแนว
การเล่นดนตรีของนักดนตรีแต่ละคน และต่อจากนั้นทรงฝึกฝนดนตรีแจ๊ซด้วยพระองค์เอง
โดยเครื่องเป่าอย่างเสรี สอดแทรกกับเสียงเพลงจากแผ่นเสียงของนักดนตรีแจ๊ซดังกล่าวมา
ความสนพระราชหฤทัยฝึกฝนหาประสบการณ์ด้วยพระองค์เองวิธีนี้ ประกอบกับพื้น
ฐานพระราชอัจฉริยภาพด้านดนตรี ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักดนตรีผู้มี
ฝีมือระดับสูง ทรงพระปรีชาสามารถในการเป่าโซปราโนแซกโซโฟนได้อย่างดีเยี่ยมทั้งยังได้
เคยทรงแซกโซโฟนและคลาริเน็ตโต้ตอบทางดนตรีกับนักดนตรีแจ๊ซที่มีชื่อเสียงของ
โลก เช่น Benny Goodman และ Stan Getz อย่างคล่องแคล่วทัดเทียมกัน
ระหว่างการพระราชทานสัมภาษณ์ทางสถานีวิทยุเสียงอเมริกาเมื่อ พ.ศ.2503 นักข่าว
อเมริกันได้กราบบังคมทูลถามเกี่ยวกับการเล่นดนตรีและแนวดนตรีที่ทรงโปรด พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบอย่างถ่อมพระองค์ตอนหนึ่งว่า
...เมื่อพูดถึงการเล่นดนตรีก็ต่างกันอีก ถ้าข้าพเจ้าเล่นเพลงคลาสสิคและมีใคร
ทำเสียงอย่างนี้ ก็เป็นการรบกวน เพราะดนตรีคลาสสิคต้องเล่นอย่างตั้งใจจริง ข้าพ
เจ้าไม่ได้พักผ่อนเท่าใดนักต้องคอยระวังไม่ให้ผิดโน้ต และไม่ให้ใครมารบกวนข้าพเจ้า
ถ้าหากข้าพเจ้าต้องเล่นเพลงแจ๊ซก็ดีกว่า เพราะข้าพเจ้าเล่นทำนองได้ตามใจชอบ ตาม
ที่รู้สึกขณะนั้น ตามแต่อารมณ์และความนึกคิดของข้าพเจ้าจะพาไป ถ้าใครมาทำเสียงดัง
เวลานั้น ข้าพเจ้าก็ถือว่าเป็นเสียงประกอบ ถ้าข้าพเจ้าเล่นผิดโน้ต ก็เท่ากับข้าพเจ้าแต่
ทำนองขึ้นเองในปัจจุบัน
ความสนพระราชหฤทัยในดนตรีแจ๊ซ โดยเฉพาะดิกซี่แลนด์แจ๊ซ (Dixieland Jazz)
นี้ เห็นได้ชัดเจนจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงในแนวแจ๊ซ
และบลูส์ไว้มากมาย เริ่มตั้งแต่เพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกคือ แสงเทียน หรือ Candlelight
เป็นต้นมา
|
|