เอกองค์ อัครศิลปิน


















   
                ในสมัยที่ทรงดนตรีร่วมกับพระเชษฐาธิราชอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคย
   ทรงพระราชนิพนธ์เพลงบางท่อนบางตอนไว้แล้ว แต่ยังไม่จบเป็นเพลง ต่อมาเมื่อทั้งสอง
   พระองค์เสด็จฯ นิวัติพระนครในปลาย พ.ศ.2488 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู๋หัวรัชกาลที่ 8 ได้
   โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
   เนื่องจากทรงทราบว่าเป็นผู้ใฝ่พระทัยทางด้านดนตรี จากนั้นมีการโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ อยู่
   เป็นประจำ จนได้ทรงมีส่วนร่วมด้านการประพันธ์คำร้องนับแต่บัดนั้น

                ด้วยแรงบันดาลใจจากพระราชดำรัสของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชนี้ เป็นผลให้
   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เพลงแรกในขณะที่ยังทรงเป็นพระอนุชาธิราช
   เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2489 เป็นเพลงบลูส์ที่ชื่อว่าเพลงพระราชนิพนธ์ “แสงเทียน” แต่เนื่อง
   จากมีพระราชประสงค์จะแก้ไขคำร้องเพิ่มเติม เพลงพระราชนิพนธ์เพลงนี้จึงมิได้ออก
   บรรเลงเป็นเพลงแรก กลับเป็นเพลงพระราชนิพนธ์   “ยามเย็น”  ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์
   ทำนองเป็นเพลงที่สอนในเดือนเดียวกันนั้น โดยทรงพระกรุณาโปรกเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ
   พระองค์เจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ ทรงประพันธ์คำร้องและนำออกบรรเลงเป็นเพลงแรกในงานรื่นเริง
   ที่สวนอัมพร

                เพลงพระราชนิพนธ์ “สายฝน” เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงที่สาม ทรงพระราชนิพนธ์
   ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2489 ทรงใช้เวลาเพียงวันเดียวโดยทรงคิดแนวเพลงได้ในคืนก่อนที่จะ
   ทรงพระราชนิพนธ์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 ทรงช่วยพระราชนิพนธ์เพิ่มเติม
   ในบางส่วนด้วย

                นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสถึงแรงบันดาลใจอีกส่วนหนึ่ง
   ในการพระราชนิพนธ์เพลง เนื่องในวโรกาสพระราชทานเพลงพระราชนิพนธื “Echo” บรรเลงเป็น
   ปฐมฤกษ์ในงานสังคีต เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2509 มีใจความว่า

                “...เพลงแรกคือเพลงแสงเทียน จากนั้นก็แต่งขึ้นอีกเรื่อย ๆ จนบัดนี้รวมทั้งหมด
   40 พลง ในระยะเวลา
20 ปี คิดเฉลี่ยปีละ 2 เพลง ที่ทำได้ก็เพราะได้รับความสนับสนุนจาก
   นักดนตรี
นักเพลง และนักร้อง รวมทั้งประชาชนผู้ฟังต่างได้แสดงความพอใจและความนิยม
   พอสมควร
จึงเป็นกำลังใจแก่ฉันเรื่อยมา ขอถือโอกาสของใจมา ณ ที่นี้ด้วย”