สิ่งปลูกสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สอยเกี่ยวกับการทำนาในวัฒนธรรมข้าวของชาวนาอีสาน วัตถุวัฒนธรรมตามแบบฉบับของภูมิปัญญาพื้นถิ่นที่สืบทอดมาจากอดีต ปัจจุบันเถียงนาเป็นสถานที่ที่ถูกใช้งานหลายอย่าง บางแห่งพัฒนาเปลี่ยนเป็นบ้านเรือน และขยายเป็นชุมชน
เถียงนา เป็นชื่อเรียกงานช่างสิ่งปลูกสร้างอย่างง่ายๆ ที่มีขนาดเล็ก
เถียงนา วัฒนธรรมไทย-ลาว หมายถึง โรงเรือนที่ปลูกสร้างไว้สำหรับพักอาศัยในลักษณะชั่วคราวเพื่อเฝ้าพืชผลในไร่นา
เถียง ถ้าปลูกสร้างอยู่ในพื้นที่นา เรียกว่า เถียงนา
เถียง ถ้าปลูกสร้างไว้ในป่า เรียกว่า เถียงไร่ หรือ เถียงไฮ่
เถียงนา บางครั้งเรียกเพี้ยนเป็น เสียงนา หรือ เขียงนา
เถียงนา วัฒนธรรมล้านนา นิยมเรียกว่า ห้างนา
เถียงนา ภาคกลางลุ่มน้ำเจ้าพระยา เรียกว่า โรงนา
เถียงนา ภาคใต้เรียกว่า ขนำนา
เถียงนา ถ้าสร้างอยู่ในไร่บนภูเขา เรียกว่าทับ ใช้สำหรับเป็นที่พักตอนออกไปทำไร่ เลี้ยงควาย และใช้เป็นที่พักในเวลาออกไปดักจับสัตว์เวลาค่ำคืน