ในปี 1950 ได้มีสิ่งประดิษฐ์เพื่อใช้ในการสื่อความหมายด้วยภาพ (Visual Communication) ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเล็กน้อย เครื่องฉายภาพโปร่งใสได้นำไปใช้ในงานอื่น ๆ ต่อมาถูกนำมาใช้ในวงการศึกษาและการฝึก โดยเฉพาะการฝึกของทหาร เครื่องฉายในระยะเริ่มแรกมีขนาดเล็ก แท่นวางแผ่นโปร่งใสกลมตามลักษณะของคอนเดนเซอร์เลนซ์ ต่อมาได้พัฒนาขึ้น โดยให้มีขนาดโตเป็นรปสีเหลี่ยมมุมฉาก สำหรับใช้กับภาพโปร่งใสขนาดโต ๆ ได้
ลักษณะเครื่องฉาย
เป็นกล่องโลหะ มีแผ่นกระจกประมาณ 10 x 10 นิ้ว วางบนกล่อง แหล่งกำเนิดแสงอยู่ภายในกล่องจะส่องสว่างผ่านกระจก ผ่านภาพโปร่งแสง และผ่านเลนซ์ออกสู่จอ ขนาดภาพที่ได้ตั้งแต่ 5-9 ตารางฟุต ระยะจากเครื่องถึงจอฉายได้ตั้งแต่ 9 ฟุตขึ้นไป สามารถใช้เลนซ์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นกว่าปกติประกอบกับเครื่อง จะให้ภาพที่มีขนาด 84 ตารางนิ้ว เมื่อระระห่างจากเครื่องถึงจอ 8 ฟุต นอกจากนี้สามารถดัดแปลงโดยเพิ่มอุปกรณ์เข้าไปเพื่อใช้สาธิต มีน้ำหนักเบาเคลื่อนย้ายได้สะดวก บางชนิดอาจมีขนาดเล็กและเบามาก มีลักษณะคล้ายกระเป๋านำติดตัวไปได้สะดวก
คุณสมบัติของเครื่องฉายภาพโปร่งใส
- ใช้และบำรุงรักษาง่าย
- สามารถวางไว้ทางด้านหน้าของผู้พังได้ เช่น ในห้องเรียน วางไว้หน้าห้องเรียน
- ครูกับนักเรียนหันหน้าเข้าหากันตลอดเวลา ทำให้สังเกตเห็นนักเรียนได้
- ถ่ายทอดความหมายได้สมบูรณ์ โดยสามารถถ่ายทอดความหมายได้ทั้งด้านทัศนะ และคำพูด
- ใช้ในห้องที่มีแสงสว่างได้ ทำให้ดูเหมือนว่าผู้ถ่ายทอดความหมายได้พบปะกับผู้พึ่งอยู่ตลอดเวลา
- การเสนอเรื่องง่าย โดยเขียนหรือวาดภาพและฉายอยกโดยพัฒ และสามารถฉายภาพธรรมดา ภาพซ้อน และของเหลวได้
- ใช้ฉายภาพโปร่งไสได้ขนาดโตถึง 10″x 10″
- แผ่นภาพโปร่งใสทำได้ง่าย
- ฉายภาพออกมามีสีสรรต่าง ๆ ตามลักษณะของภาพโปร่งใส
ความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องฉายกับจอ
- ขนาดของจอจะขึ้นอยู่กับระยะของการดู ความกว้างของจอจะต้องไม่น้อยกว่า 6 เท่าของระยะทางจากจอถึงผู้ดูแถวหลังสุด ตำแหน่งของเครื่องถึงจะต้องปรับให้เต็มจอ
- ตำแหน่งของเครื่องกับจอ จะต้องตั้งเครื่องให้ได้ภาพปรากฎเต็มจอ ภาพจะโตขึ้นเมื่อเลื่อนเครื่องออกห่างจากจอ
- การเห็นภาพ เครื่องฉายจะต้องวางต่ำกว่าระดับสายตาของคนดู จอจะต้องสูงเหนือระดับศรีษะของผู้ใช้ การวางตำแหน่งถูกต้องจะทำให้ภาพปรากฏบนจอชัดเจน การวางเครื่องฉายจะต้องถือหลัก “จอสูง – เครื่องฉายต่ำ” เสมอ
- การกําจัดความเพี้ยนของภาพ ถ้าจอสูงมากจะเกิดภาพปรากฎโดยด้านบนของภาพจะยาวกว่าด้านล่างของภาพ ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า Keystone วิธีแก้ให้เลื่อนจอหรือเครื่องฉายให้ตั้งฉากกัน
- ตัวอักษรในแผ่นโปร่งใส จะต้องโตพอที่จะอ่านได้ง่าย
- การปรับภาพ เมื่อวางเครื่องได้ตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว จะต้องปรับความชัด โดยปรับที่ปุ่มปรับให้ได้ภาพชัดเจน ถ้าภาพบนจอสูงหรือต่ำไปจะต้องปรับหัวฉาย หรือแผ่นสะท้อนให้ได้ภาพบนจอในตำแหน่งพอดี
บรรณานุกรม
พิลาศ เกื้อมี. (2526). เทคนิคการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เจริญวิทย์การพิมพ์