ผีอาเซียน รู้ผีรู้เรา : จินตมายาอุษาคเนย์ เนื้อหาของหนังสือนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมความเชื่อเรื่องผี (ในอดีต) การแบ่งกลุ่มผีประเภทต่าง ๆ ที่พบในกลุ่มประเทศอาเซียน 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ละประเทศต่างมีความเชื่อ และวัฒนธรรมผีเป็นของตนเอง
คำว่า ผี มีนิยามความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางในโครงการวิจัยเรื่อง ผีอาเซียน จากจักรวาลผีสู่จักรวาลนฤมิต : การแปรรูปทุนทางวัฒนธรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้สรุปนิยามของคำว่า “ผี ” ไว้ว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์รับรู้หรือเชื่อว่ามีอยู่จริง มีอิทธิฤทธิ์ที่อาจให้คุณหรือโทษแก่มนุษย์ โดยแบ่งเป็นผีดี และผีร้าย ตามปกติมนุษย์ทั่วไปอาจไม่เห็นตัวตนของผี แต่มนุษย์อาจสัมผัสความมีอยู่ของผีได้ในลักษณะต่าง ๆ ตามแต่ละสถานการณ์ เช่น มองเห็นรูปลักษณ์ของผี ได้ยินเสียงของผี หรือได้รับกลิ่นจากผี เป็นต้น นอกจากนี้การรับรู้และความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ที่มีต่อผีนำมาสู่คำบอกเล่า การสร้างคำเรียกผี การอธิบายลักษณะ และสิ่งต่าง ๆ ของผี ตลอดจนวิถีปฏิบัติเกี่ยวกับผีที่อาจเหมือน คล้าย หรือแตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม ในฐานะที่ผีเป็นตัวแทนของความเชื่อซึ่งมีความสัมพันธ์กับศาสนาต่าง ๆ ของกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 7 ประเทศ ในกลุ่มประเทศอาเซียนได้แบ่งกลุ่มของผีเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มผีในวัฒนธรรมความเชื่อดั้งเดิมที่ผนวกกับพุทธศาสนาเถรวาท
2. กลุ่มผีในวัฒนธรรมพุทธศาสนามหายาน
3. กลุ่มผีในวัฒนธรรมฮินดู
4. กลุ่มผีในวัฒนธรรมมุสลิม
5. กลุ่มผีในวัฒนธรรมคริสต์ศาสนา
มาร่วมกันค้นหาความเหมือน ความต่าง รูปแบบการหลอกหลอนของผีแต่ละประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน
ทั้ง 7 ประเทศ หากสนใจอ่านหนังสือ ตรวจสอบสถานะ