คู่มือจริยธรรมวิจัยในมนุษย์

การวิจัยในมนุษย์ คือ การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ โดยมีขอบเขตครอบคลุมวิทยาการทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ในหลากหลายมิติ เช่น การวิจัยทางการแพทย์ โดยเฉพาะการศึกษาในผู้ป่วยหรือผู้มีสุขภาพดี การศึกษาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำต่อร่างกายมนุษย์ แต่เกี่ยวข้องทางด้านจิตใจและอารมณ์ รวมถึงการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลของผุ้ป่วยที่บันทึกไว้ในเวชระเบียนหรือฐานข้อมูลของโรงพยาบาล ข้อมูลสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ที่เป็นทัศนคติหรือค่านิยาม ซึ่งนับเป็นข้อมูลการวิจัยในมนุษย์เช่นกัน

จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เกิดขึ้นอย่างจริงจังหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีการนำเชลยสงครามและคนในค่ายกักกันไปทำการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ด้วยวิธีที่ทารุณ เช่น ให้ออกไปอยู่นอกอาคารในสภาพอากาศที่หนาวถึงจุดเยือกแข็งโดยไม่ให้สวมเสื้อผ้าเป็นเวลานานหลายชั่วโมง หรือการให้แข่เย็นในน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำถึงจุดเยือกแข็งจนหัวใจหยุดเต้นแล้วพยายามช่วยชีวิต รวมถึงการนำเชื้อแบคทีเรียที่เพาะเลี้ยงไว้ใส่ลงในบาดแผลแล้วทดลองใช้ยาปฏิชีวนะรักษา เป็นต้น ซึ่งศาลพิจารณาคดีการกระทำที่เป็นอาชญากรรมต่อมนุษย์ในระหว่างการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2584-2588) ที่เมืองนูเรมเบิร์ก เยอรมันนีในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2490 พิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลยหลายรายในความผิดนี้ และได้มีการจัดทำกฎเกณฑ์สำหรับการวิจัยในคนประกาศเป็นกฎนูเรมเบิร์กขึ้น

งานวิจัยที่เข้าข่ายการวิจัยในมนุษย์จะต้องมีความถูกต้องตามมาตรฐานงานวิจัยและหลักจริยธรรม ตามที่ระบุไว้ในวิธีดำเนินการมาตรฐานซึ่งอ้างอิงตามหลักเกณฑ์จริยธรรมสากลสำหรับการวิจัยในคน หนังสือเล่มนี้มีข้อแนะนำและเทคนิคการเขียนโครงร่างการวิจัยสาขาต่างๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิศวกรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์ การวิจัยข้ามศาสตร์ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจหลักการเขียน ข้อควรระวัง และออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ของโครงร่างได้อย่างเหมาะสม

หากสนใจหนังสือเล่มนี้สามารถอ่านออนไลน์ได้ที่ https://bit.ly/3GQL2dK