เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projector)

เครื่องฉายภาพทึบแสงใช้ฉายวัสดุหรือภาพที่มีลักษณะทึบแสง ซึ่งแตกต่างจากเครื่องฉายทั่วๆ ไป ที่ฉายเฉพาะภาพโปร่งใส สามารถขยายภาพให้โตขึ้นได้ ขนาดของวัสดุและภาพที่จะฉายได้

ลักษณะและการทำงานของเครื่องฉายภาพทึบแสง

มีขนาดโต มีน้ำหนักมาก แต่ใช้และบำรุงรักษาง่าย กลไกลที่เคลื่อนไหวได้เพียง 2-3 ชั้น เช่น แท่นวางภาพ ปุ่มปรับความชัดเจนของภาพ เครื่องฉายชนิดนี้ อาศัยหลักการฉายแบบสะท้อนแสง (Reflect projection) ซึ่งจะต้องใช้หลอดฉายที่มีกำลังส่องสว่างมากประมาณ 1000 วัตต์ หลอดฉายจะส่องลงไปสู่แท่นวางภาพรอบ ๆ แท่นวางภาพที่มีแผ่นกระจกเงาเพื่อสะท้อนแสงจากหลอดฉายไปสู่วัตถุหรือภาพที่ฉาย ส่วนกระจกเงาอีกแผ่นหนึ่งวางอยู่ด้านบนจะสะท้อนภาพออกสู่เลนส์ฉายออกสู่จอ เครื่องฉายชนิดนี้จะต้องฉาย ในห้องที่มืดมาก ๆ จึงจะได้ภาพชัดเจน นอกจากระบบฉายแล้วยังมีระบบระบายความร้อนเพื่อยืดอายุหลอดฉายและเพื่อป้องกันความร้อนไปสู่ภาพที่จะฉายทำให้ภาพงอและไหม้ได้ ในเครื่องฉายจะมีลูกศรเพื่อชี้ส่วนต่างๆ ของภาพและวัตถุขณะฉาย แท่นวางภาพที่จะฉายจะเป็นแผ่นเปิดอ้าออก เพื่อวางภาพในบางเครื่องอาจจะมีม้วนติดที่แท่นทั้งสองข้าง เพื่อฉายภาพที่ติดต่อกันเป็นลำดับ โดยใช้มือหมุนเลื่อนภาพ

เครื่องฉายภาพทึบแสง
ภาพ : ยศระวี วายทองคำ

หลักการใช้เครื่องฉายภาพทึบแสง

  1. เมื่อวางภาพหรือวัตถุที่จะฉายลงบนแท่น จะต้องเลื่อนแผ่นบังคับแท่นให้แนบสนิทอยู่เสมอ
    มิฉะนั้นภาพจะไม่ชัดและเพี้ยน ถ้าเป็นเครื่องแบบมีม้วนให้ใส่ภาพทางด้านข้างและหมุนให้ภาพอยู่ตรงกึ่งกลาง
  2. เปิดสวิทซ์และปรับความชัดของภาพ
  3. ถ้าไม่มีภาพแสดงว่า
    3.1 ไม่ได้เปิดฝาครอบเลนส์
    3.2 ห้องมืดไม่พอ
    3.3 ระยะจากเครื่องถึงจอไม่ถูกต้อง จะต้องเลื่อนเครื่องเข้าหรือออกจากจอ จนกว่าจะมีภาพ
  4. เมื่อใช้นาน ๆ จะต้องหยุดพักเครื่องชั่วระยะหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้วัตถุที่จะฉายได้รับความร้อนและชำรุดได้

การบำรุงรักษาเครื่องฉายภาพทึบแสง

  1. ปิดฝาครอบเลนส์ทุกครั้ง หลักจากใช้แล้วเพื่อป้องกันฝุ่นและรอยขีดข่วน
  2. ทำความสะอาดเลนส์ด้วยกระดาษเช็ดเลนส์ทำความสะอาดกระจกสะท้อนแสง
  3. ไม่ควรให้เลนส์และกระจกสะท้อนแสงเบ็นรอยนิ้วมือ เพราะความร้อนจากเครื่อง มือทำให้รอยนิ้วมือติดแน่น ทำให้ได้ภาพออกมาไม่ดี

เครื่องฉายภาพสามมิติ (Digital Visualizer)

เครื่องฉายภาพสามมิติ
ภาพ : หน่วยบริการสื่อโสตทัศน์ ฝ่ายบริการสื่อการศึกษา สำนักบรรณสารสนเทศ มสธ.

เครื่องฉายภาพสามมิติ (Digital Visualizer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับฉายภาพจากวัตถุสามมิติ วัตถุทึบแสง เช่น กระดาษ หนังสือ ตัวอย่างสินค้า อะไหล่เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก รวมถึงสามารถฉายแผ่นใส ฟิลม์สไลด์ ได้ด้วย หรือรวมสรุปง่าย ๆ ว่าเครื่องฉายภาพสามมิติเป็นเครื่องที่สามารถแปลงสัญญาณที่นำเสนอได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว และสามารถฉายวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นของจริงได้โดยการหมุนกล้องที่อยู่เหนือแท่นฉาย จับภาพวัสดุ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องใช้กล้องถ่ายวีดีโอหรือเครื่องฉายสไลด์เพิ่มเติม และไม่ต้องแปลงงานที่ต้องการนำเสนอให้เป็นแผ่นใสก่อนใช้งาน เหมือนกับการใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead projector)

หลักการทำงานของเครื่องฉายภาพสามมิติ (Digital Visualizer)

หลักการทำงานของเครื่องฉายภาพสามมิติ (Digital Visualizer) จะเป็นการใช้กล้องจับภาพของวัตถุ ต่าง ๆ ที่วางอยู่บนแท่นฉายเพื่อแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าก่อนที่จะแปลงสัญญาณกลับมาเป็นสัญญาณภาพอีกครั้งหนึ่ง และเมื่อมีการนำเสนอภาพนิ่งหรือวัตถุสามมิติจะต้องนำวัสดุที่ต้องการฉายมาวางลงบนแท่นฉาย เพื่อให้กล้องที่อยู่เหนือแท่นฉายจับภาพวัสดุ และภาพวัตถุนั้นจะส่งผ่านไปยังเครื่องฉายภาพ Projector เพื่อฉายภาพวัตถุนั้นให้เป็นภาพขนาดใหญ่บนจอรับภาพ

บรรณานุกรม

พิลาศ เกื้อมี. (2526). เทคนิคการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เจริญวิทย์การพิมพ์

สถาพร ศรีเพขร. (ม.ป.ป.). คู่มือการใช้งานเครื่องฉายภาพสามมิติ.file:///C:/Users/master/Downloads/1714467313_m10.pdf