บรรณสารฯ ติดเล่า PODCAST SEASON 2 EP.1 มีนาแล้วอย่าลืมว่ามีเรียนนะ กับเคล็ดลับบริหารจัดการเวลา

ใกล้เข้ามาแล้วกับวันเปิดเรียน ภาคการศึกษาที่ 2/2565 ในวันที่ 15 มีนาคม 2566 ของนักศึกษา มสธ.
หลายคนก็ต้องเตรียมตัวและจัดเวลาในการอ่านหนังสือ หรือบางคนที่เรียนแผนที่มีคะแนนช่วยก็ต้องจัดเวลาในการทำการบ้านก็ว่าได้ ห้องสมุด มสธ. ขอเเนะนำเทคนิคดีๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการจัดการเวลา จากหนังสือที่มีให้บริการที่ห้องสมุด มสธ. ดังนี้ 

เคล็ดลับจัดการเวลา Time management 

กฎของฟิสิกส์บอกไว้ว่า “เวลาเป็นสิ่งมีจำกัด เราไม่สามารถหยุดหรือทำให้เวลาเดินช้าลงได้ เราจึงไม่สามารถจัดการกับเวลาได้ แต่เราสามารถจัดการกับการใช้เวลาได้” โดยมีหลักการอยู่ 4 ข้อ ดังนี้

  1. การจัดลำดับความสำคัญและจัดสรรเวลา
  2. การจัดตารางเวลา
  3. การจำกัดความต้องการที่จะมากินเวลา
  4. การรู้ว่าเมื่อใดถึงเวลาที่ต้องหยุดพัก

วิธีที่เราจะรู้ว่าอะไรสำคัญมากสำคัญน้อย ต้องลองวิเคราะห์การใช้ชีวิตของเราเองว่าแต่ละวันเราทำอะไรไปบ้าง บันทึกวันทำงานและวันหยุดสัก 1 สัปดาห์อย่างละเอียด และทำสัญลักษณ์ไว้ในสิ่งที่เราทำแบบเดียวกัน
จะทำให้้เห็นว่ามีสิ่งที่ขโมยเวลาเราไปโดยที่เราไม่รู้ตัว อาจคิดว่าเป็นกิจวัตรประจำวัน ซึ่งบางทีอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น และหลังจากนั้นต้องมาเรียงลำดับความสำคัญว่าสิ่งไหนควรมาก่อนมาหลัง ซึ่งในขั้นตอนนี้เป็นส่วนที่สำคัญมากๆ ในการที่เราจะควบคุมเวลาในชีวิตประจำวัน เราต้องลำดับความสำคัญสิ่งที่จะทำของให้ชัดเจน โดยไม่ใช่ลำดับความสำคัญของคนอื่น ๆ รอบตัวเข้ามาเป็นส่วนประกอบ ในการจัดลำดับความสำคัญ
อาจดูเหมือนเป็นกลยุทธ์การบริการเวลาในระยะสั้น แต่ที่จริงแล้วสิ่งนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่เป้าหมาย
เราต้องทำความเข้าใจว่าเรากำลังพยายามมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายใด ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนตำแหน่ง การเรียน หรือการเปลี่ยนเส้นทางอาชีพ จะช่วยให้คุณรู้ว่าสิ่งใดมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ในอนาคตมากที่สุด อ่านเพิ่มเติมที่ https://opac01.stou.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=148545

ทำน้อยให้ได้มาก The Power of LESS

ทำน้อยให้ได้มากเป็นแนวทางที่จะช่วยให้เรารับมือกับความมากมายของงานที่ไหลเข้ามาหาเรา บางคนตั้งใจทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอะไรเลยสักอย่าง แต่อีกคนที่รับมือกับงานได้อย่างสบายๆ แถมยังมีเวลาเหลือไปทำเรื่องสำคัญอื่นๆ ในชีวิตอีกต่างหาก ซึ่งทั้งหมดล้วนขึ้นอยู่วิธีการคิด วิธีการรับมือ และหลักการ 6 ข้อ ที่จะช่วยให้เราทำน้อย แต่ได้มาก ดังนี้  

หลักการที่ 1 การสร้างข้อจำกัดทำให้เราต้องเลือกแต่สิ่งสำคัญ เราต้องเรียนรู้ที่จะสร้างข้อจำกัดให้กับทุกเรื่องที่เราทำ เพื่อที่จะทำให้เราทำงานพุ่งเป้าไปที่ส่วนสำคัญเพียงอย่างเดียว เพื่อให้เกิดผลประสิทธิภาพที่เต็มร้อยมากกว่าทำอะไรหลายอย่าง เสร็จแต่ไม่สำเร็จผล  

หลักการที่ 2 เมื่อเลือกแต่สิ่งที่สำคัญเราจึงสามารถสร้างผลลัพธ์อันยิ่งใหญ่ด้วยทรัพยากรที่น้อยที่สุดจงเลือกแต่สิ่งสำคัญเพื่อให้ใช้พลังและเวลาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 

หลักการที่ 3 การทำให้เรียบง่ายขึ้น คือ การกำจัดสิ่งที่ไม่สำคัญ เรียงลำดับความสำคัญของแต่ละงานทั้งหมด และขีดฆ่าสิ่งที่ไม่สำคัญออกไป จะช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้น  

หลักการที่ 4 การจดจ่อ เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการเพิ่มประสิทธิภาพ จงจดจ่อว่าจะทำให้น้อยลงเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จดจ่อกับเป้าหมายเดียวเพื่อทำให้สำเร็จ จดจ่อกับงานที่อยู่ตรงหน้าไม่ใช่งานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน และจงจดจ่ออยู่กับปัจจุบันเพื่อลดความกังวลและความตึงเครียด  

หลักการที่ 5 สร้างนิสัยใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน ได้มีวิธี “การพิชิตคำท้า” สร้างนิสัยใหม่ภายใน 30 วัน มีขั้นตอน คือ เลือกนิสัยใหม่มา 1 อย่าง 2. เขียนแผนการขึ้นมา ระบุเป้าหมาย ทำตอนไหน และสิ่งกระตุ้น 3. ประกาศเป้าหมายให้คนอื่นรับรู้ 4. รายงานความคืบหน้า 5.ฉลองให้กับนิสัยใหม่ของคุณ ซึ่งในการที่เราจะพิชิตคำท้าได้เราต้องมีความมุ่งมั่น ความรับผิดชอบ กำลังใจ  และแรงบัลดาจใจที่จะช่วยให้พิชิตคำท้าได้อย่างสำเร็จ  

หลักการที่ 6 เริ่มสร้างนิสัยใหม่ด้วยการทำมากขึ้นทีละน้อยเพื่อรับประกับความสำเร็จ บางทีการที่เราเริ่มต้นด้วยความฮึกเหิมสุด ๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไปไม่นานความฮึกเหิมเหล่านั้นก็ได้หายไปส่งผลให้เป้าหมายพังไม่เป็นท่า ทางออกคือการเริ่มต้นทีละน้อย ตั้งเป้าอย่างง่ายและค่อยๆ ไต่ระดับไปเรื่อย ๆ  อ่านเพิ่มเติมที่ https://opac01.stou.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=143556


อ้างอิง 

บาบอต้า, ลีโอ. (2557). ทำน้อยให้ได้มาก [The Power of LESS] (วิกันดา พินทุวชิราภรณ์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: วีเลิร์น. 

ไบรด์, แม็ค. (2558). เคล็ดลับจัดการเวลา เล่มเดียวจบ [Time management] (สักกพัฒน์ งามเอก, ผู้แปล). นนทบุรี: บริษัท ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์ จำกัด.