การบำบัดจิตสังคมสำหรับผู้สูงอายุ

ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ กล่าวคือ ประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2566 จะมีประชากรผู้สูงอายุถึงร้อยละ 20.66 ของประชากรทั้งหมด และในปี พ.ศ. 2578 จะมีประชากรผู้สูงอายุถึงร้อยละ 28.55 ทั้งนี้รัฐบาลจึงประกาศให้ สังคมผู้สูงอายุเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีแผนปฏิบัติการผู้สูงอายุแห่งชาติครอบคลุมทั้งกลุ่มก่อนวัยสูงอายุ (25–59 ปี) เน้นเตรียมการสู่การเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ เนื่องจากวัยสูงอายุเป็นวัยที่เปราะบางทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การเจ็บป่วยทางกายนำไปสู่ภาวะการเจ็บป่วยทางจิตและมีผลกระทบต่อสภาพสังคมโดยรวม ดังนั้นการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยต้องครอบคลุมทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ โดยการนำทฤษฎีการ บำบัดจิตสังคม ผสมผสานกับความก้าวหน้าวิทยาการทางการแพทย์และการพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการรู้คิด ภาวะจิตใจ อารมณ์ บุคลิกภาพ ส่งผลถึงพฤติกรรมที่แสดงออก การบำบัดจิตสังคมจึงเป็นการดูแลเพื่อลดความทรมานจากการเจ็บป่วยทั้งร่างการและจิตใจ ลดภาวะเครียด วิตกกังวล ฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจเพื่อให้การดำเนินชีวิตตามศักยภาพและมีคุณภาพชีวิตที่เป็นสุข

การบำบัดจิตสังคมสำหรับผู้สูงอายุ เป็นแนวทางในการบำบัดจิตสังคมสำหรับดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาหรือเจ็บป่วยทางสุขภาพจิต โดยมีเนื้อหา ดังนี้

ส่วนที่ 1 ความรู้และประสบการณ์

– บทที่ 1 ทฤษฎีเกี่ยวกับผู้สูงอายุ

– บทที่ 2 ทฤษฎีในการบำบัดจิตสังคม

– บทที่ 3 การประเมินภาวะจิตสังคมในผู้สูงอายุ

– บทที่ 4 การสัมภาษณ์ทางคลินิกและเทคนิค

– บทที่ 5 การใช้แนวปฏิบัติในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชขั้นสูงและการประเมินผลลัพธ์

– บทที่ 6 การเชื่อมโยงแนวคิดและการบำบัดในการปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชขั้นสูง

ส่วนที่ 2 ประเภทของการบำบัดทางจิตสังคม

– บทที่ 7 จิตบำบัดประคับประคอง

– บทที่ 8 การบำบัดพฤติกรรมและความคิด

– บทที่ 9 การบำบัดด้วยการระลึกถึงความหลัง

– บทที่ 10 การบำบัดด้วยการแก้ปัญหา

หนังสือเล่มนี้มีประโยชน์สำหรับพยาบาล บุคลากรทีมสุขภาพ และผู้สนใจที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพทางจิต รวมถึงส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุและครอบครัวให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

หากสนใจหนังสือเล่มนี้ ตรวจสอบสถานะ