ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์

เวลาคือ ความกังวลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์ บางคนคิดที่จะเริ่มทำบางสิ่งบางอย่างที่จะพัฒนาตนเอง มักจะมีข้ออ้างเสมอ “ไม่มีเวลา” แต่ในขณะเดียวกันคนอื่น ๆ ประสบความสำเร็จในชีวิต ทั้งที่ทุกคนมีเวลาเท่ากันคือ
1 วัน เท่ากับ 24 ชั่วโมง ซึ่งมนุษย์เราจะมีความสุขหรือความทุกข์กับข้อจำกัดในเรื่องเวลา แต่ในเมื่อสังคมผลักดันให้เราต้องประสบความสำเร็จ ดังนั้นเราต้องมีตัวช่วยในการบริหารจัดการเวลาในแบบที่ควรจะเป็น
ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์ (Four Thousand Weeks: Time Management for Mortals) เขียนโดย โอลิเวอร์ เบิร์กแมน คอลัมนิสต์ชื่อดังของ Guardian จะพาเราไปค้นพบปรัชญาเกี่ยวกับเวลาและการบริหารเวลา ที่จะช่วยให้คุณมองเวลาตามอายุขัยชีวิตของมนุษย์โดยเฉลี่ย 80 ปี หรือราวๆ สี่พันสัปดาห์เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เพราะในปัจจุบันเรากำลังติดอยู่ในคำสาปแห่งเวลา ที่เรียกร้องให้เราทำทุกอย่างในเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ และในทุกวันเราใช้เวลาให้มีประสิทธิภาพจนหลงลืมการใช้ชีวิต เพราะมีมุมมองว่าเรามีเวลา และต้องใช้มัน แต่ความเป็นจริง แล้วชีวิตคือ เวลาในตัวมันเอง เนื้อหาในเล่มจะเป็นปรัชญาที่จะทำให้เราบริหารจัดการเวลาแบบสมดุลกับชีวิต ดังนี้
ชีวิตที่ยอมรับการมีขีดจำกัด — กับดักของการมีประสิทธิภาพ — เผชิญหน้ากับการมีจุดสิ้นสุด — เป็นผู้ผัดวันประกันพรุ่งที่ดีกว่าเดิม — ปัญหาเรื่องแตงโม — ผู้รบกวนที่ใกล้ชิด — เราไม่เคยมีเวลาจริงๆ หรอก — คุณอยู่ตรงนี้ — ค้นพบการพักผ่อนอีกครั้ง — วังวนของความใจร้อน — อยู่บนรถบัสต่อไป — ความโดดเดี่ยวของดิจิทัลโนแมด — การบำบัดด้วยการตระหนักว่าเราไม่ได้สำคัญในจักรวาล – โรคมนุษย์
หนังสือเล่มนี้ เป็นแนวทางการบริหารเวลาว่า เราจะใช้ชีวิตในสี่พันสัปดาห์อย่างไรให้มีความหมายมากที่สุด และไม่เสียดายในภายหลัง หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่เครื่องมือให้คุณบริหารจัดการเวลาให้มีประสิทธิภาพทั่ว ๆ ไป แต่เป็นเครื่องมือที่ทำให้คุณสร้างชีวิตอันจำกัดของคุณให้มีความหมาย ใช้เวลาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ที่แท้จริงของชีวิต “เราไม่ได้มีเวลา แต่เราคือเวลา”,Oliver Burkeman

หากสนใจหนังสือเล่มนี้ ตรวจสอบสถานะ และยืมหนังสือเล่มนี้ได้ที่ห้องสมุด มสธ. ค่ะ