STOU Read it Now! Ep.4 ขอแนะนำหนังสือใหม่ของห้องสมุด มสธ. ที่เหล่ามนุษย์ทำงาน นักเรียน รวมถึงกลุ่มคนทุกช่วงวัยสามารถอ่านได้ กับหนังสือที่มีเนื้อหาตรงกับชื่อตอนว่า work ต้อง เวิร์ค : หมดไฟ จุดใหม่ ให้งานปัง
เริ่มกันที่เล่มแรกกับหนังสือที่มีชื่อเรื่องว่า “Productivity Flow ภาวะลื่นไหล ทำอะไรก็ง่ายหมด” หนังสือที่จะมาช่วยให้เราใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น ไม่มีสะดุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน การเรียน สุขภาพ และการใช้ชีวิต ซึ่งเป็นผลงานของสิทธินันท์ พลวิสุทธิ์ศักดิ์ เจ้าของเว็บไซต์ Content Shifu ที่เป็นเว็บไซต์ที่ให้ความรู้ด้าน Digital Marketing ที่ต้องมีไอเดียในการทำงานอยู่ตลอดเวลา หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้เรามีแนวคิด วิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพ โดยที่ไม่ลืมเรื่องของสุขภาพไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย 7 บท ได้แก่
หากเคยลองมาแล้วสารพัดวิธีแล้วยังไม่ได้ผล ลองอ่านเล่มนี้ที่อาจจะช่วยให้เราใช้ชีวิตได้อย่างลื่นไหลพร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ที่อาจเกิดขี้นได้ตลอดเวลา ติดตามอ่านตัวเล่มได้ที่ห้องสมุด มสธ. เลขเรียกหนังสือ BF481 ส63 2565
- Introduction
- Productivity Flow: 5 ขั้นตอนของการทำ Productivity Flow
- Productivity กับการทำงาน : On Task & Project Management
- Productivity กับการเรียนรู้
- Productivity กับสุขภาพ
- Productivity กับการใช้ชีวิต
- บทส่งท้าย
เล่มที่ 2 ที่ยังตอบโจทย์ชีวิตการทำงานกับหนังสือ “โปรดหยิบเล่มนี้อ่าน เพราะไม่มีงานมันน่ากลัว” เขียนโดยทีมงาน Jobthai หนังสือเล่มนี้พูดถึงการพัฒนาศักยภาพของเราที่เทคโนโลยีจะพัฒนาไปเท่าใดก็ไม่สามารถมาแทนที่เราได้ง่ายๆ ต่อให้มีหุ่นยนต์ ระบบปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยทำงาน ทำให้เราสะดวกสบายมากขึ้นก็ตาม หนังสือเล่มนี้จะช่วยปรับความคิด ถึงแม้ชีวิตการทำงานจะอยู่ยากกว่าที่เคยแต่ถ้าเราปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของตลาดแรงงานได้ก็จะช่วยพัฒนาการทำงานและศักยภาพของเราให้ดีขึ้น หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเหมือนคัมภีร์พัฒนาตัวเองให้มีทักษะมากขึ้นทั้ง Hard Skills และ Soft Skills ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต การเข้าสังคม การปรับตัวในการทำงาน เพราะ Soft Skills จะทำให้เรามีข้อแตกต่างจากหุ่นยนต์ ทำให้เราก้าวสู่การเป็น คนทำงานคุณภาพ เนื้อหาในเล่มประกอบด้วย
- เคล็ดลับปรับตัวเป็นคนทำงานคุณภาพในยุค AI
- ก้าวสู่การเป็น Teamwork และพัฒนา Leadership Skills
- แรงบันดาลใจในการทำงาน จากคนดังระดับโลก
ติดตามอ่านตัวเล่มได้ที่ห้องสมุด มสธ. เลขเรียกหนังสือ BF481 J62 2564
เล่มที่ 3 เคล็ดลับที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพของเราให้ดีขึ้นได้จากการฟังกับหนังสือเรื่อง “คัมภีร์คนฟังคน The Power of Listening” แต่งโดย ดร.พรรณทิพา ชเนศร์ ซึ่งทักษะการฟังนั้นสำคัญไม่แพ้ทักษะการพูด เราจะฟังอย่างไรให้เข้าถึงเจตนาที่ผู้พูดต้องการสื่อถึงเราจริงๆ ในขณะที่สังคมอาจให้คุณค่าผู้ที่มีความสามารถในการพูดมากกว่า สังเกตจากหลักสูตรการเรียนที่เน้นทักษะการพูด เน้นที่พูดเก่งมีความสามารถในการอภิปรายโน้มน้าวใจผู้ฟัง แต่การฟังอย่างลึกซึ้งก็เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมากในการสื่อสารเช่นดียวกัน หนังสือเล่มนี้แบ่งระดับการฟังเป็น 6 ระดับ คือ
- ระดับที่ 1 ไม่สนใจฟัง เป็นการฟังที่ไม่มีความสนใจในเนื้อหาใดๆ
- ระดับที่ 2 แกล้งฟัง คือทำกิริยาท่าทางเหมือนฟังมีการตอบรับ แต่ไม่สามารถจับประเด็นลึกซึ้งได้ทั้งหมด
- ระดับที่ 3 เลือกฟัง คือการฟังเฉพาะในสิ่งที่สนใจเรื่องที่ตนเองคิดว่ามีประโยชน์สามารถนำไปใช้งานได้
- ระดับที่ 4 ตั้งใจฟัง คือการฟังที่ดีขึ้นมาอย่างมากรับรู้รับฟังเรื่องราวเนื้อหาของผู้พูด มีการตอบสนองด้วยคำพูดแต่ไม่เข้าใจจุดความต้องการที่อยู่ข้างในลึกๆ ของผู้พูด เพราะไม่ได้ใช้ใจฟัง
- ระดับที่ 5 ฟังแบบเข้าอกเข้าใจและใส่ใจ คือการฟังที่เป็นการฟังแบบเข้าใจองค์รวมทั้งเนื้อหาอารมณ์ความรู้สึกความคิด เป็นการฟังด้วยหัวใจฟังอย่างเข้าใจในตัวตนของผู้พูดจริงๆ สามารถเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน
- ระดับที่ 6 การฟังด้วยใจสู่ใจ ด้วยใจที่สุข เป็นการฟังแบบเข้าใจเข้าถึงองค์รวมทั้งเนื้อหาอารมณ์ความคิดและผู้ฟังมีสติอยู่กับผู้พูดตลอดเวลา