ความรู้พื้นฐานเพื่อการป้องกันและรักษาโรคสมองเสื่อม Alzheimer

โรคสมองเสื่อม (Alzheimer) เกิดจากหลายปัจจัยทั้งพันธุกรรม วิถีชีวิต และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป โดยโรคมักจะเริ่มต้นในส่วนสมองที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย และโรคจะทำลายเซลล์ประสาทที่เกี่ยวกับความรู้ ความสามารถ และบุคลิกภาพ นำไปสู่คนไร้สมรรถภาพ พึ่งพาตัวเองไม่ได้เปรียบเหมือนคนพิการจนเป็นภาระของลูกหลาน สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเรื่องที่น่ากลัวจึงต้องทำความรู้จักและการป้องกันโรคสมองเสื่อม (Alzheimer) ให้ถูกวิธีโดยผู้เชียวชาญ

“ความรู้พื้นฐานเพื่อการป้องกันและรักษาโรคสมองเสื่อม Alzheimer” แต่งโดย วิภาวรรณ ตั้งนิพนธ์

ที่เขียนจากประสบการณ์ในการสอนวิชาชีววิทยาของโรคอัลไซเมอร์มานานกว่า 30 ปี โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์ตั้งแต่สาเหตุที่เกี่ยวข้อง พยาธิวิทยาการเกิดโรค การตรวจวินิจฉัย การรักษาด้วยวิธีต่างๆ รวมทั้งการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งกล่าวถึงการรักษาในปัจจุบันทางเวชปฏิบัติ รวมทั้งยาและสารประกอบทางเคมีต่าง ๆ ที่อยู่ในขั้นตอนการวิจัยให้ได้มาซึ่งยาหรือสารเวชภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพดีพอที่จะนำมาใช้ในทางปฏิบัติจริง โดยเนื้อหาในหนังสือมีดังนี้

1. พยาธิวิทยาระบบประสาทของการเกิดโรคอัลไซเมอร์

2. ปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม (genetic predisposition) ของการเกิดโรคอัลไซเมอร์

3. การรักษาโรคอัลไซเมอร์

4. การป้องกันโรคอัลไซเมอร์

5. แนวโน้มในอนาคตการวิจัยเพื่อรักษาโรคอัลไซเมอร์

หากสนใจหนังสือ ตรวจสอบสถานะ และยืมได้ที่ห้องสมุด มสธ. ค่ะ