ตำราการพยาบาลสุขภาพชุมชน 1 เล่มนี้ มีการรวบรวมแนวคิด บทบาท หน้าที่ สำหรับนักศึกษาพยาบาลหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงพยาบาลในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการดูแลครอบครัวและกลุ่มคนในชุมชน เนื้อหาแบ่งเป็น 9 บท ได้แก่
บทที่ 1. แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนและภาวะสุขภาพชุมชน กล่าวถึงปัจจัยกำหนดสุขภาพ กระบวนการดูและสุขภาพชุมชนตามกระบวนการพยาบาลชุมชน ตัวชี้วัดสุขภาพชุมชน
บทที่ 2. บทบาทและหน้าที่ของพยาบาลชุมชน ซึ่งต้องมีการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชนตั้งแต่เกิดจนวาระสุดท้ายตามมาตรฐานการพยาบาลและการควบคุมคุณภาพการพยาบาล
บทที่ 3. การดูแลครอบครัวในชุมชน การเข้าใจแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกแบบบริการสุขภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตของครอบครัวให้ดีขึ้น
บทที่ 4. การจัดการดูแลกลุ่มเด็กปฐมวัยในชุมชน ที่ต้องมุ่งดูแลบุคคลในครอบครัวของเด็กซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการดูแลเด็กด้วย การพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้ ทักษะในการเลี้ยงดูทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา เป็นต้น
บทที่ 5. การจัดการดูแลกลุ่มเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นในชุมชน เพื่อก้าวไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี ลดพฤติกรรมความเสี่ยงด้านสุขภาพ ซึ่งหลายๆ โรคที่เกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่มักมีพื้นฐานที่มาจากช่วงวัยรุ่น
บทที่ 6. การจัดการดูแลกลุ่มโรคเรื้อรังในชุมชน ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถชะลอและประคับประคองเพื่อลดความรุนแรงของโรคได้
บทที่ 7. การจัดการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งต้องทำความเข้าใจในหลายมิติไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต สังคม และจิตวิญญาณ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยให้หายหรือทุเลาลง
บทที่ 8. การจัดการดูและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและคนยากจนในชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความต้องการเฉพาะที่อาจขาดโอกาสในการได้รับบริการเนื่องด้วยปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
บทที่ 9. การจัดการดูแลกลุ่มวัยแรงงานและอาชีวอนามัยในชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มวัยที่มีช่วงอายุระหว่าง 15-59 ปี ใช้เวลาทำงานประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน เสี่ยงต่อการเป็นโรคจากการประกอบอาชีพได้ โดยควรเน้นด้านการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันเป็นหลัก
หากสนใจหนังสือเล่มนี้สามารถอ่านออนไลน์ได้ที่ https://bit.ly/3ZdpHAh