สิ่งที่จะดึงดูดคนเก่งเข้ามาทำงานกับองค์กรได้นั้น คงหนีไม่พ้นเรื่องของค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆ องค์กรจำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลและวางแผนโครงสร้างค่าตอบแทนที่ดี เพื่อดึงดูดการเข้ามาทำงานในองค์กร แต่ขณะเดียวกันองค์กรเองต้องสามารถมีกำลังจ่ายได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อองค์กร
HR Magazine ฉบับพฤศจิกายน 2566 ได้กล่าวถึงการบริหารจัดการค่าตอบแทนต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในการกำหนดค่าตอบแทน เช่น การกำหนดค่าตอบแทนสะท้อนตามค่างาน งานที่ใช้ทักษะการทำงานที่ยากกว่าย่อมได้ค่าตอบแทนสูงกว่า แต่การที่เราจะบริหารค่าตอบแทนให้ดึงดูดหรือเก็บรักษาพนักงานไว้ให้ได้นั้นคงต้องดูที่คู่แข่งด้วย ว่าบริษัทอื่นมีการจ้างงานหรือการให้ค่าตอบแทนอย่างไรบ้าง รวมถึงสัดส่วนของค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน เช่น โบนัส ซึ่งถือเป็นค่าตอบแทนจูงใจระยะสั้น นอกจากเงินเดือนที่ได้คงที่ทุกเดือนอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีค่าตอบแทนความยากลำบากที่ให้กับบางตำแหน่งงาน เช่น การทำงานในสภาพแวดล้อมที่อันตราย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น
- “เทรนด์จัดหางานและกลยุทธ์การคัดสรรบุคลากรในยุคปัจจุบัน” เมื่อซอฟต์สกิลสำคัญกว่าฮาร์ดสกิล
- “Competency development roadmap (CDR) กับเทคนิคการพัฒนาบุคลากรเชิงรุก”
- “ข้อตกลงในสัญญาจ้างที่ไม่มีผลใช้บังคับ” ข้อตกลงอะไรบ้างที่ไม่มีผลใช้บังคับในการทำงานเนื่องจากขัดต่อกฎหมาย เป็นโมฆะไม่มีผลผูกพัน, ข้อตกลงอะไรบ้างมีผลผูกพันได้แต่ไม่เป็นธรรม และข้อตกลงอะไรบ้างที่มีผลบังคับโดยสมบูรณ์
ติดต่อขอใช้บริการได้ที่ห้องสมุด มสธ. อาคารบรรณสาร ชั้น 1 มุมวารสาร