มรดกบ้านศาลาแดงเหนือ ผลผลิตการบริการสังคมที่ยังยืนของห้องสมุด มสธ.

สำนักบรรณสารสนเทศให้บริการทางวิชาการแก่สังคมอย่างยั่งยืน โดยเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำหนังสือตามกระบวนการ เป็นบรรณาธิการและกองบรรณาธิการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชื่อ “มรดกบ้านศาลาแดงเหนือ” ตามที่ชุมชนบ้านศาลาแดงเหนือ ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ได้มีหนังสือขอความอนุเคราะห์เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรของสำนักบรรณสารสนเทศ และชาวบ้านชุมชนบ้านศาลาแดงเหนือ ช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม 2566 ตั้งแต่การประชุม การวางแผนการทำงาน การกำหนดกรอบเนื้อหาหนังสือ การจัดทำเนื้อหา ภาพประกอบ การเรียบเรียงเนื้อหา โดยการประสานงานอย่างต่อเนื่องทั้งแบบเผชิญหน้าและแบบผ่านไลน์กลุ่ม บรรณาธิกรหนังสือ และจัดทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) ให้บริการอยู่บนเว็บไซต์ของห้องสมุด มสธ. และกิจกรรมเผยแพร่หนังสือ

“มรดกบ้านศาลาแดงเหนือ” มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของหมู่บ้านศาลาแดงเหนือ ชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญที่ยังคงรักษาวิถีทางวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตและเก็บรักษาข้อมูลของชุมชนไว้ได้เป็นอย่างดี ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับวัดและชุมชนบ้านศาลาแดงเหนือ และเรื่องราวจากคัมภีร์ใบลานภาษามอญ บางเรื่องของวัดศาลาแดงเหนือ เนื้อหาแบ่งออกเป็น 11 บท คือ

  1. วัดศาลาแดงเหนือ
  2. บ้านศาลาแดงเหนือ
  3. เรือมอญบ้านศาลาแดงเหนือ…ตำนานค้าขายและขนส่งทางน้ำ
  4. ชุมชนบ้านศาลาแดงหนือ แหล่งสืบสานวิถีท้องถิ่นของผู้คนกับวัด
  5. มรดกล้ำค่าบ้านศาลแดงเหนือ
  6. คัมภีร์ใบลานสอนผู้คนของชุมชน
  7. ตำนานสร้างเมืองปทุมธานี คัมภีร์ ใบลานมอญของวัดศาลาแดงเหนือ
  8. เกียรติประวัติและความภาคภูมิใจของชุมชนบ้านศาลาแดงเหนือ
  9. พิพิธภัณฑ์เรือวัดศาลาแดงเหนือ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจากใจ
  10. ปกิณกะบ้านศาลาแดงเหนือ
  11. รู้รักษ์อักขระมอญ

นอกจากนี้บุคลากรของห้องสมุดได้เข้าร่วมกิจกรรมเผยแพร่หนังสือ ร่วมให้ความรู้ ในกิจกรรมสนทนาปสาทะ “ของดีบ้านศาลาแดงเหนือ” วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ศาลาการเปรียญ วัดศาลาแดงเหนือ ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ “มรดกบ้านศาลาแดงเหนือ” ด้วย โดยสำนักบรรณสารสนเทศ พัฒนาเนื้อหาและออกแบบนิทรรศการเคลื่อนที่สำหรับเผยแพร่ในกิจกรรมให้กับชุมชน จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่

  1. พระอาจารย์บุนนาค ผู้นำทางคุณธรรม ผู้สร้างคลังปัญญาทางบ้านศาลาแดงเหนือ
  2. บ้านศาลาแดงเหนือ หมู่บ้านต้นแบบ
  3. เอกสารโบราณและคัมภีร์ใบลานมอญวัดศาลแดงเหนือ
  4. สวดมนต์บาลีมอญ กิจวัตรอัตลักษณ์บ้านศาลาแดงเหนือ

และจัดทำแผ่นพับเผยแพร่ความรู้ เรื่อง อาหารท้องถิ่นบ้านศาลาแดงเหนือ และได้นำหนังสือในโครงการนนทบุรีศึกษาร่วมเผยแพร่ในกิจกรรมดังกล่าวด้วย อาทิ วิถีมอญในไทย วิจิตรศิลป์ดินเผา พินิจหัตถศิลป์มอญ นนทบุรีศรีมหานคร ปี่พาทย์มอญรำ เครื่องปั้นดินเผานนทุรี ท้องถิ่นปากเกร็ด วัดในอำเภอปากเกร็ด ภูมินามอำเภอบางบัวทอง พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดชมภูเวก เป็นต้น

หนังสือในโครงการนนทบุรีศึกษา