พลาสติกเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน เนื่องจากพลาสติกเป็นผลิตภัทฑ์ที่มาจากอุสาหกรรมปิโตรเคมีที่เป็นอุสาหกรรมก่อมลภาวะสูง อีกทั้งยังยากต่อการย่อยสลายตามธรรมชาติและยากต่อการกำจัดโดยไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ โดยประเมินว่าต้องใช้เวลาประมาณ 450 ปี จึงจะย่อยสลายได้ และเนื่องจากพลาสติกง่ายต่อการใช้และการแปรรูป ทำให้ปัจจุบันพลาสติกเป็นหนึ่งในผลิตภัทฑ์ที่เราต้องเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ขยะพลาสติกได้สร้างผลกระทบเป็นวงกว้างต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติเป็นอย่างมาก โดยผลกระทบจากตัวขยะพลาสติกเอง ยกตัวอย่างเช่น มีสิ่งมีชีวิตในทะเลเสียชีวิตจากการกินพลาสติกเข้าไป ประมาณ 1 ล้านตัวต่อปี และยังก่อให้เกิดโรคและผลกระทบต่อสถานที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติอีกด้วย แต่เพราะพลาสติกนั้นง่ายต่อการแปรรูป หมายความว่าเราสามารถทำการรีไซเคิลพลาสติกที่ไม่ได้ใช้แล้ว นำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ใหม่ได้ เป็นทั้งการลดจำนวนขยะพลาสติก และการอนุรักษ์ทรัพยากรไปในตัว โดยกระบวนการรีไซเคิลพลาสติกจากหนังสือการออกแบบบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล ของผู้เขียน Ulla Gürlich และ Veronika Kladnik มีกระบวนการดังนี้
- รวบรวมพลาสติกจากถังขยะสีเหลืองหรือถังขยะสำหรับขยะรีไซเคิล จากนั้นนำมาคัดแยกตามขนาด รูปร่าง สี และองค์ประกอบทางเคมีของพลาสติก
- หลังจากคัดแยกเสร็จสิ้นแล้ว จะถูกนำไปอัดรวมเป็นก้อนพลาสติกเพื่อให้สะดวกขนย้ายไปยังโรงงานรีไซเคิล
- ทำการชำระล้างพลาสติกเพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนที่ติดมากับผลิตภัณณ์เพื่อป้องกันการปนเปื้อนก่อนจะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- หลังจากทำการชำระล้างผลิตภัทฑ์แล้ว พลาสติกจะถูกนำไปบดให้กลายเป็นเกล็ดขนาดเล็กก่อนจะนำไปคัดแยกตามความหนาแน่นของเนื้อพลาสติกอย่างละเอียดอีกรอบ
- หลังจากคัดแยกอย่างละเอียด พลาสติกทั้งหมดจะถูกหลอมในเครื่องอัดรีดให้กลายเป็นเม็ดพลาสติก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับใช้เป็นวัสดุในการผลิตผลิตภัทฑ์จากพลาสติกต่อไป
ถึงแม้จะสามารถนำพลาสติกมารีไซเคิลได้ แต่ถ้าเราไม่ลดปริมาณการใช้พลาสติกลง การรีไซเคิลที่ทำไปก็จะไม่เห็นผล แต่ว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการใช้พลาสติกนั้นก็สามารถทำได้อย่างง่ายดายได้ด้วยตัวเราเอง โดยสามารถทำได้ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการรับถุงพลาสติกเมื่อซื้อสินค้าจากร้านค้า นำถุงผ้าหรือกระเป๋ารูปแบบต่าง ๆ ใช้ในการใส่
สินค้าที่ซื้อมาแทน - เลือกใช้บรรจุภัทฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ลดการใช้บรรจุภัทฑ์แบบใช้ครั้งเดียว
- พกแก้วน้ำหรือกระติกน้ำติดตัวเอาไว้ตลอดเวลา เพื่อลดการใช้แก้วน้ำพลาสติกจากร้านค้าทั่วไป
- พยายามเลือกใช้ผลิตภัทฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ
- ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ให้นำถุงพลาสติกกลับมาใช้ใหม่อยู่เสมอ ๆ เพื่อลดการรับถุงพลาสติกเพิ่ม
อ้างอิง
เกอลิค, อัลล่า และคาดนิค, เวโรนิก้า. (2563). Packaging Design for Recycling
[การออกแบบบรรจุภัณฑ์ รีไซเคิล] (จีรานุช บุดดีจีน, ผกามาศ ผจญแกล้ว, สุภาวดี ธีรธรรมากร, บุญชัย วลีธรชีพสวัสดิ์, แววบุญ แย้มแสงสังข์, พิชญ์ชาธร บุญเจริญ, ธัญญ์นภัส ภูณัฐธนารมย์ และกรรณิการ์ ยิ้มนาค, ผู้แปล). สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย.
องค์การบริหารส่วนตำบลบางคา. (2564, 2 กุมภาพันธ์ 2564). ประชาสัมพันธ์ 7 วิธีลดการใช้ถุงพลาสติกและโฟม. องค์การบริหารส่วนตำบลบางคา. https://www.bangka.go.th/news/detail/422
Our plastic waste has a devastating impact on marine life. (2017). https://www.keepbritaintidy.org/get-involved/support-our-campaigns/plastic-challenge/impact-wildlife
เรียบเรียงโดย
- นางสาวปวีณ์ธิดา เนตรหาญ บรรณารักษ์ สำนักบรรณสารสนเทศ
- นายธนพล นนทสุตวงศ์ บรรณารักษ์ สำนักบรรณสารสนเทศ