STOU Read it Now! EP.15 Livable Japan ใส่ใจไว้ในเมือง

STOU Read it Now! Ep.15 ขอแนะนำหนังสือใหม่ของห้องสมุด มสธ. Ep. นี้ ขออาสาพาท่านผู้ฟังที่ชอบการท่องเที่ยว และการเดินทาง บินลัดฟ้าไปตามหา “เมืองในฝัน” กับหนังสือที่มีชื่อว่า “Livable Japan ใส่ใจไว้ในเมือง” เล่าเรื่องเบื้องหลัง “หัวใจ” ของการออกแบบเมืองน่าอยู่ที่ใครๆ ก็ตกหลุมรัก

เขียนโดย ปริพนธ์ นำพบสันติ หรือ คุณโบ๊ท Japan Perspective หนังสือเล่มนี้จัดอยู่ในหมวดบันเทิงและการท่องเที่ยว  มีด้วยกันถึง 15 บท เนื้อหาภายในเล่มได้เล่าถึงการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นและได้พบกับความมีระเบียบวินัย ที่สามารถออกแบบได้ และสอดแทรกอยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นกลไกลสำคัญที่ทำให้คนญี่ปุ่นมีการพัฒนาเมืองและ การพัฒนาคน  เช่น

เมืองมีเส้น

ประเทศญี่ปุ่นมีการวางระเบียบอย่างง่ายๆ และครอบคลุม เช่น การแก้ปัญหาง่ายๆ ให้กับลูกค้าร้านสะดวกซื้อ สามารถต่อคิวชำระเงินได้อย่างเป็นระเบียบ ซึ่งที่ญี่ปุ่นมีเส้นที่เรียกว่า “เส้นต่อคิว” เส้นนี้ออกแบบมาเพื่อให้แถวคิวเริ่มต้นที่จุดเดียว ก่อนจะกางองศากระจายตัวไปยังแต่ละช่องชำระเงิน ช่วยวางระบบ “มาก่อน-ได้ก่อน

ใส่ใจ-ป้ายสี

งานออกแบบที่ประเทศญี่ปุ่น เน้น “สีสดเข้ม” ต้องเด่นชัดและเป็นตัวช่วยสำคัญของเมืองน่าอยู่ ไม่เว้นแม้แต่ เส้นคิวในสถานีรถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทาง ที่จอดรถ ทางม้าลาย และเลนจารจร

พูดด้วยภาพ

คนญี่ปุ่นชอบอธิยายและสื่อสารโดยใช้ภาพประกอบเพื่อให้เป็นที่น่าจดจำ และเข้าใจง่าย สังเกตุได้จาก การทิ้งขยะ จุดจอดรถพิเศษ สำหรับคนพิการ หญิงตั้งครรภ์  หรือผู้มีความจำเป็น และเลนจักรยาน ล้วนมีทั้งแบบป้ายและแบบกราฟิก อย่างสะดุดตา

เหนือชั้นด้วยเทคโนโลยี

เมืองน่าอยู่จะดียิ่งขึ้นไปอีกเมื่อ “เทคโนโลยี”เข้ามามีบทบาทอย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพคนญี่ปุ่นข้ามถนนได้อย่างปลอดภัย เพราะ “สัญญาณไฟคนข้าม” คนญี่ปุ่นขับรถเร็วเกินกำหนด เพราะ “กล้องจราจร” นอกจากนี้ยังมีกล้องที่คอยจับตามมองเราอยู่เป็นด้านสุดท้ายอีกด้วย

เริ่มต้นที่โครงสร้าง

การออกแบบสิ่งต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่นจะสอดคล้องกันอย่างมีประสิทธิภาพได้ต้องเริ่มจากการออกแบบเชิงโครงสร้าง วางต้นทางของกฎระเบียบต่างๆ เอาไว้อย่างเฉียบคม เช่น ร้านอาหารประเภทลูกค้าบริการตัวเอง มักจะออกแบบ “พื้นที่คืนภาชนะ” เอาไว้อย่างจริงจัง ซึ่งเป็นหนึ่งในบริการ “Service Design” ที่ร้านค้าได้วางระบบเอาไว้ การออกแบบเพื่อสร้างกฎระเบียบเหล่านี้เอาไว้มักมีเหตุผลมารองรับเสมอ ถ้าปล่อยปะละเลยสังคมคงไม่เป็นระเบียบ ดังนั้น เราจงมองการออกแบบเป็น “ศิลปะ” ในการใช้ชีวิตอย่างหนึ่ง

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดต่อขอยืมหนังสือเพื่อใช้บริการได้ที่ห้องสมุด  มสธ. ตรวจสอบสถานะ