จากกรณีปลาหมอคางดำระบาดใน 19 จังหวัด ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจและระบบนิเวศเป็นอย่างมาก เราจะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ถือเป็นวาระเร่งด่วนเลยทีเดียวสำหรับกรณีปลาหมอคางดำที่มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะพื้นที่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและระบบนิเวศ เนื่องจากปลาหมอคางดำเป็นปลาที่มีความต้องการอาหารอยู่ตลอดเวลา กินกุ้ง กินลูกปลา มีนิสัยดุร้ายกว่าปลาหมออื่น ๆ แถมยังสามารถวางไข่ได้ทั้งปี ทำให้แพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว
AQUA BIZ ฉบับสิงหาคม 2567 จะพาไปพบกับข้อมูลมาตรการในการป้องกันแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำดังกล่าวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น การปล่อยปลาผู้ล่า เช่น ปลากระพงขาว ปลาอีกง, การแปรรูปอาหารจากปลาหมอคางดำ ในการทำปลาป่น การทำน้ำหมัก นำไปทำเป็นอาหารปลา เหยื่อเลี้ยงสัตว์น้ำ, การประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ และการมีส่วนร่วมในการป้องกัน ในระยะยาว กรมประมงเองจะนำโครงการวิจัยการเหนี่ยวนำชุดโครโมโซม 4n ในปลาหมอคางดำ เพื่อช่วยควบคุมการขยายพันธุ์ด้วยหลักการทางพันธุศาสตร์ ทำให้ปลาเป็นหมัน ไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อได้ ซึ่งจากวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ คาดว่าจะสามารถช่วยคุมการระบาดได้ ภายใน 3 ปี
นอกจากนี้ยังมีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมากมาย เช่น
– มองอนาคต ระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทยและของโลก
– เฝ้าระวังโรคสัตว์น้ำ
– พลิกฟื้นประมงไทยให้กลับมาเป็นจ้าวสมุทร
โดยติดต่อขอใช้บริการได้ที่ห้องสมุด มสธ. อาคารบรรณสาร ชั้น 1 มุมวารสาร