ปัจจุบัน หลาย ๆ ประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับภาวะโลกร้อนซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ โดยสาเหตุของภาวะโลกร้อนคือก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับในภาคอุตสาหกรรมการที่จะลดการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ บางองค์กรอาจจะเป็นเรื่องยาก แต่ไม่ยากเกินที่จะช่วยโลกได้ด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิตซึ่งเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงหรือกักเก็บได้จากการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีการซื้อขายกันโดยผู้ที่ต้องการชดเชยการปล่อยคาร์บอน ซื้อจากองค์กรที่สามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้ต่ำกว่าเกณฑ์ และมีเครดิตไปขายให้กับองค์กรอื่น ๆ ได้
แล้วทำไม องค์กรต้องอยากได้คาร์บอนเครดิตด้วยล่ะ ?
อย่างที่กล่าวไปว่าปัจจุบันมีการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม การดำเนินธุรกิจที่ส่งผลให้เกิดก๊าซคาร์บอน จำเป็นต้องมีการดำเนินการที่จะช่วยชดเชยการเกิดคาร์บอนผ่านโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างความยั่งยืน เช่น การปลูกป่า นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรได้ด้วย ตลาดคาร์บอนทั่วโลกในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ และภาคสมัครใจ ซึ่งประเทศไทยจะอยู่ในภาคสมัครใจ สำหรับแนวโน้มการเติบโตของตลาดคาร์บอนในประเทศไทย อุปสงค์มากกว่าอุปทาน โดยภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการคาร์บอนเครดิตสูง ได้แก่ การขนส่ง การท่องเที่ยว และ MICE
แน่นอนว่าเมื่อมีการซื้อขาย ย่อมต้องมีเรื่องของภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเอกสารภาษีอากร ก็จะพาไปพบข้อมูลในเรื่องภาษีเกี่ยวกับการขายคาร์บอนเครดิตด้วย นอกจากนี้ ยังมีบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น
- บริษัทให้หุ้นพนักงานกับภาระภาษี
- ออกใบกำกับภาษีเมื่อใด…ไม่มีความผิด
- หนี้สินหมุนเวียน ภาระผูกพันที่กระทบต่อสภาพคล่องของกิจการ
ติดตามได้ใน เอกสารภาษีอากร ฉบับเมษายน 2567 โดยติดต่อขอใช้บริการได้ที่ห้องสมุด มสธ. อาคารบรรณสาร ชั้น 1 มุมวารสาร