ระบบเสียง
ระบบเสียงหมายถึง การนําอุปกรณ์เครื่องเสียงต่างๆ มาต่อเชื่อมกันให้ทํางานอย่างเป็นระบบจึงเป็นการรวบรวมอุปกรณ์เกี่ยวกับเสียงที่มีความสัมพันธ์กันมาจัดให้เกิดความสมดุลในการเชื่อมต่อ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
หน้าที่ของระบบเสียง คือ เพิ่มหรือขยายความดังเสียงทําให้กลุ่มเป้าหมาย (ผู้ชม, คนดู, ฯลฯ) สามารถได้ยินเนื้อหาอย่างชัดเจนขึ้นกว่าเดิม
เครื่องเสียง
เครื่องเสียงเป็นอุปกรณ์ที่เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาประเภทเสียงจากมนุษย์และแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ ให้ดังมากขึ้นเพื่อให้ได้ระยะทางในการได้ยิน โดยมีองค์ประกอบหลักคือ ภาครับ ภาคขยาย และภาคส่งออก ซึ่งเป็นระบบการเพิ่มกำลังความดังของเสียงให้ชัดเจนและกว้างไกลมากขึ้น
เสียงคนเราโดยปกติมีความดังประมาณ 60 เดซิเบล เท่านั้น และเสียงก็ไม่สามารถขยายให้ดังขึ้นหรือเก็บรักษารูปคลื่นไว้ได้ แต่เครื่องขยายเสียงสามารถเปลี่ยนเป็นคลื่นไฟฟ้าได้โดยการอาศัยทฤษฎีการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กผ่านขดลวด เครื่องเสียงจึงมีความสำคัญในการเป็นสื่อกลางของการเพิ่มความดังของเสียง เช่น เสียงจากการบรรยาย การเรียนการสอน รวมถึงแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ ด้วย
เครื่องขยายเสียง
เครื่องขยายเสียง คือ ระบบเพิ่มกำลังความดังของเสียงธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้เสียงไพเราะหรือชัดเจนกว่าเดิมได้ ในระบบขยายเสียง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
- สัญญาณเข้า (Input Signal) คือ การแปลงคลื่นเสียงธรรมชาติเป็นคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียง (Audio Frequency Currents)
- เครื่องขยายเสียง (Amplifier) เป็นภาครับชาวงต่อจากสัญญาณเข้าโดยรับกระแสความถี่ของเสียงที่แปลงมาจากสัญญาณเข้าปรับขยายให้มีกำลังแรงมากขึ้น แล้วเตรียมส่งเป็นสัญญาณออก (Output Signal)
- ลำโพง (Speaker) ทำหน้าที่รับสัญญาณออก ซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นไฟฟ้าโดยแปลงให้เป็นคลื่นเสียง
อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเสียง
- ไมโครโฟน (Microphone) เป็นอุปกรณ์ช่วยในการรับเสียง และเปลี่ยนพลังงานเสียงมาเป็นพลังงานไฟฟ้า ด้วยแผ่นรับเสียงที่เรียกว่า ไดอะแฟรม ซึ่งจะรับและถ่ายทอดแรงสั่นสะเทือนที่มาจากเสียงเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าอ่อนๆ แล้วถึงจะส่งต่อไปยัง ไมค์ปรีแอมป์ (Mic Preamp) เพื่อขยายสัญญาณให้แรงพอที่จะส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียง นี่เป็นหลักการเบื้องต้นของการทํางานของไมโครโฟน ซึ่งไมโครโฟนมีมากมายหลายชนิดด้วยกัน ทั้งแบบไม่ใช้ไฟฟ้า และแบบที่ใช้ไฟฟ้า รวมถึงขอบข่ายความกว้างในการรับสัญญาณเสียงของไมโครโฟน
- มิกเซอร์ Mixer
เป็นเครื่องมือที่สามารถรับสัญญาณจากแหล่งต่างๆ ได้พร้อมๆกันในคราวเดียวหรือ แยกจากกันในแต่ละครั้งก็ได้ และจะรวมสัญญาณที่เข้ามาทั้งหมดให้ออกมาเป็นสัญญาณสเตอริโอ หรือ โม โน เพื่อส่งไปให้แหล่งรับสัญญาณอื่นๆ เช่น เครื่องขยายเสียง ประเภทของ มิกเซอร์ มี ๒ ประเภท คือ
มอดูลาร์ (Modular) เป็นมิกเซอร์ที่ถอดแผงในแต่ละ Channal ได้โดยอิสระ ออกจากกันเพื่อความง่ายต่อการซ่อมบํารุง มีคุณภาพสูงแต่ราคาแพง
นอนมอดูลาร์ (Non Modular) จะไม่สามารถถอดแผงในแต่ละ Channal ออกมาได้เพราะถูกยึดติดอยู่ในแผงวงจรเดียว ราคาไม่แพง - อีควอไลเซอร์ (Equalizers) จัดเป็นอุปกรณ์แต่งเสียง โดยเรียกง่ายๆว่า EQ เป็นอุปกรณ์ที่เราพบเห็นทั่วไปและ คุ้นเคยกันดี EQ หมายถึง ขบวนการเพิ่มหรือลดความถี่เสียงเพื่อช่วยปรุงแต่งหรือแก้ไขคุณภาพเสียง EQ มีหลายชนิดเช่น ๕.๓.๑ พาสซีฟอีคิว (Passive EQ) เป็น EQ ยุคแรกๆ และยังมีใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น EQ ที่ตัวกีตาร์ไฟฟ้า โดยมันสามารถทํางานที่ตัวมันเองโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานภายนอก โดย ปรับความถี่ที่ถูกกําหนดไว้เท่านั้น และเป็นการปรับลักษณะกว้างๆ ๕.๓.๒ แอคตีฟอีคิว (Active EQ) เป็น EQ ชนิดที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าจากภายนอก สามารถปรับยานความถี่ได้ได้กว้างกว่า และมีความละเอียดแม่นยํากว่า นิยมใช้กันเป็นมาตรฐานในเครื่อง มิกเซอร์ทุกแบบ ๕.๓.๓ กราฟฟิกอีคิว (Graphic EQ) เป็น EQ ที่ใช้กันมาก โดยมีตั้งแต่ 10 Bands – 31 Bands มีทั้งแบบ Mono และ Stereo
- Power Mixer คือ เครื่องขยายเสียงร่วมกับมิกเซอร์ สามารถนําแหล่งเสียง เช่น ไมโครโฟน, เครื่องเล่นเทป, DVD หรือ Computer ต่อเข้า Input ของ Power Mixer และสามารถขยาย โดยมีภาคขายเสียงในตัวเครื่องขับออกลําโพงได้
- เครื่องขยายเสียง (Amplifiers) ทําหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าให้แรงพอแล้วส่งต่อไปยังลําโพง การเลือกแอมป์นั้นต้องสัมพันธ์กับลําโพงเช่น วัตต์ของลําโพงควรจะมากกว่าวัตต์ของเครื่องขยายเสียงอย่างน้อยประมาณ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ และ อิมพีเดนซ์ของลําโพงต้องมีความพอดีกับเครื่องด้วย ถ้าไม่เช่นนั้นจะทําให้เกิดปัญหากับเครื่องขยายเสียงได้
- ลําโพง (Speaker) ลําโพงจัดเป็นตัวแปลงชนิดหนึ่งซึ่งทําหน้าที่เปลี่ยนพลังงานเสียงแล้ว แผ่กระจายเสียงภายในห้องหรือในอากาศโดยรอบ นับได้ว่าเป็นอุปกรณ์ทางเสียงที่มีความสําคัญอย่างหนึ่ง
- ขั้วต่อ (Connectors) และสายสัญญาณ (Microphone Cable) เรื่องสายสัญญาณ หรือสายไมโครโฟนกับขั้วต่อ มีความจําเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะต้องทราบและเข้าใจก่อนที่จะเลือกใช้งาน เพราะอาจจะทําให้เกิดปัญหาในการใช้งานได้ ปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่ เสียงที่ไม่มีคุณภาพ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับไมโครโฟนโดยตรง แต่จะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ที่นํามาใช้งานร่วมกันอันเนื่องมาจากเสียงรบกวนนั่นเอง
อ้างอิง
กรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ กองกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์. (2562). ตําราวิชาระบบเสียงและระบบวิทยุโทรทัศน์. https://comm.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2023/06/10-%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B8%9B.pdf
เกื้อกูล คุปรัตน์, บุญเหลือ ทองเอี่ยม, ร่วมศักดิ์ แก้วปลั่ง, โสภาพรรณ สุวรรณแสง, สมคิด ธีรศิลป์, อนันต์ธนา อังกินันทน์, สุวรรณ นาภู, และสุขสวัสดิ์ ภาษิต. (2524). โสตทัศนศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ไวยวิทย มาศจร. (2565, 7 เมษายน). มารู้จักโสตทัศนูปกรณ์ระบบรับภาพ [weblog]. Blog NSTRU. https://race.nstru.ac.th/home_ex/blog/topic/show/2820/%E2%80%9CWINDOWS-boot-%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2-boot-%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E2%80%9D-HDD-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2